ช่วงนี้ TRN กำลังคิดวางแผนว่าปีนี้จะมีแนวทางการหนุนเสริมเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการแสวงหาและพัฒนาความรู้ที่หลากหลายอย่างไร  อยากชวนคนอื่นคิดด้วยว่าปีนี้เราอยากให้เกิดอะไรขึ้นบ้างในโลกออนไลน์ไทย เบื้องต้นที่ TRN ได้แนวๆคร่าวๆ แบ่งเป็น Ecosystem layers คล้ายๆในหนังสือ the wealth of networks ดังนี้

Physical layer

  • Alternative Public Wifi Network ก็เริ่มมีแนวคิดอย่าง FON ที่น่าจะเริ่มกันได้เลย
  • พยายามให้อะไรคล้ายๆ One Laptop Per Child หรือคล้ายๆกันของ Intel ให้เกิดขึ้นใช้จริงในโรงเรียนไทย
  • Thai Resilient Internet Plan มาช่วยกันวางแผนว่าทำอย่างไรเน็ตไทยถึงจะมีความต้านทาน หรือ resilient กับการแทรกแซงของอำนาจเผด็จการทุกชนิด  เช่นมาดูว่าต้องใช้ท่อไหนต่อไปไหนหากมีกรณีการปฏิวัติในอนาคตและคราวนี้เขาจะปิดเน็ต

Meta layer

  • หนุน Thai Wikipedia และชุมชนแลกเปลี่ยนความรู้อื่นๆเช่น วิชาการ.com หรือ gotoknow.org
  • Aggregator engine คล้ายๆ answers.com
  • Thai Technorati เพื่อเชื่อมโยง จัดการ และกระจายfeed ต่างๆจากทั่วประเทศ + Public Ping Server
  • Creative Commons Thai Porting  & Promotion เพื่อเสริมเรื่องลิขสิทธิ์การแลกเปลี่ยนของกันออนไลน์ ตอนนี้ธรรมนิติทำจะเสร็จแล้ว จะมาช่วยกัน promote อย่างไรดี
  • Thai OpenID ใช้ username/password share กัน อันนี้ mk เคยเสนอไว้
  • OpenCare ผลักดันให้เป็นระบบกลางภาคประชาชนในการเชื่อมโยงและจัดการข้อมูลเกี่ยวกับภาวะวิกฤต

Content layer

  • Thai bloggers – new media directory & online portal  เชื่อมโยงเครือข่าย blogger ไทยให้หากันเจอ และให้คนภายนอกหางานเขียน หรือ video podcast ดีๆเจอ
  • Thai Open Base ฐานความรู้เปิดที่ให้ทุกคน up file ที่เกี่ยวข้องกับความรู้อะไรรูปแบบไหนก็ได้เป็น open knowledge repository
  • ผลักดัน Open Courseware ในเมืองไทยให้เกิดตัวอย่างจริงๆจังๆทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียน
  • Open creative media repository ที่ใช้ creative commons คล้ายๆ fuse.in.th ให้มีมากขึ้นๆ
  • Thai TED Talk เป็นที่รวมวิดิโอของคนสุดยอดหรืออะไรที่น่าสนใจมากๆออนไลน์ที่เกี่ยวกับเมืองไทยหรือคนไทยควรจะรู้
  • ระบบข้อมูลทางการเมืองที่เปิดใช้ประชาชนเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และมีส่วนร่วมได้ เช่น politicalbase.in.th
  • ทำสรุปconcept สำคัญๆ เช่น  long-tail, wikinomics, massive collaboration ฯลฯ ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ทั้งเป็นหนังสือและ online

Social movement support layer

  • พยายามจัดตั้งอะไรคล้ายๆ Electronic Frontier Foundation ในเมืองไทย เพื่อหนุนเสริมและปกป้องโลกออนไลน์ของไทยให้มีเสรีภาพบนฐานความรับผิดชอบ  มีการดูแลต่างๆเช่นกรณี blogger ถูกฟ้อง
  • จัดตั้ง Micro Social Venture Capital ที่ลงทุนด้านต่างๆที่กล่าวมากับองค์กรที่ทำประโยชน์ให้สังคมแต่สร้างรายได้อยู่ได้ด้วยตัวเอง
  • ผลักดันให้เกิดเครือข่าย citizen journalism ของแท้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว สามารถกลายเป็น alternative media platform แทนสื่อกระแสหลักได้บ้าง   บางส่วนอาจจะทำให้อยู่ได้เลยคล้ายๆ nowpublic.com
  • หนุนให้เกิดการเจอกันของคนในวงการเว็บใหม่ๆ เช่น YouFEST และ BarCamp

ขอความเห็นหน่อยนะครับ

42 thoughts on “ Wish-list ระบบนิเวศเน็ตไทยเพื่อปฏิวัติความรู้ ”

  1. ผมเสนออีกนิดนึงครับ
    เรื่องผลงาน และงานวิจัยของผู้ที่ศึกษาอยู่ หรือ อาจารย์ท่านต่าง ๆ
    ผมว่าสิ่งนี้ ยังถูกแบ่งแยกออกจากบุคคลภายนอกอยู่
    ถ้า resource พวกนี้สามารถถูกรวมเข้ากับ media directory/online portal ได้ ผมว่าน่าจะดี เพราะงานวิจัยหลาย ๆ อย่าง
    ผมคิดว่า น่าจะมีการต่อยอด หรือ เอามาใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ
    นอกจากนี้ผมคิดว่ายังเป็นช่องทางอีกทาง ที่จะทำให้
    ผู้ที่สนใจ ได้เข้าร่วมกับงานวิจัยที่ตัวเองสนใจด้วย
    งานวิจัยหรือ senior project เท่าที่ผมเห็นมา ส่วนใหญ่
    presentจบแล้วก็ถูกปล่อยไว้ที่ภาควิชา มันดูไร้ประโยชน์ยังไงไม่รู้

    Thai Open Base นี่ ตอนนี้ก็ sema.go.th เจ้าหนึ่ง

    -ช่วยอธิบายคำว่า open courseware ที่ครับ >_<

    ถ้าทำให้มีการรองรับการศึกษาที่ไม่ใช่จากคนในประเทศเพียงอย่างเดียว
    ด้วยก็ดีนะครับ 🙂

  2. ขอบคุณคุณ Taiko ครับ

    Open courseware คือการจัดระบบสื่อการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย ฯลฯ ให้คนทั่วไปที่สนใจสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและมีประสิทธิภาพครับ โดยเน้นการเป็นระบบเปิดที่ใครก็ได้สามารถนำไปใช้เรียนรู้ต่อได้ แต่มีการดูแลเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของสื่อต่างๆที่เผยแพร่ครับ ลองไปดูของ MIT ซึ่งเป็นต้นแบบได้ที่
    ocw.mit.edu ครับ

  3. โอ้ ขอบคุณคุณ sunit เช่นกันครับ
    เพิงรู้ว่า mit มีแบบนี้ด้วย ตะกี้เข้าไปดู เล็ง ai ไว้ละ
    เอาไว้มีเวลาว่างจะไปเรียน (ที่สำคัญมีแบบฝึกหัดกับ solution
    ให้ด้วยนี่แหล่ะ จ๊าบไปเลย)

  4. อาจจะต้องสร้างระบบที่ทำให้กำแพงหมดความหมายไปเอง ช่วยคิดหน่อยดิ จะทำอย่างไร

  5. น่าจะต้องสนใจทำให้คนเข้าถึงความรู้ภาษาอังกฤษได้ด้วย อ.ธวัชชัยกำลังทดสอบ lightlex.com น่าจะคิดกันว่าทำยังไงให้ lightlex หรือ online dictionary ฉลาดๆ อื่นๆ กลายเป็นบริการมาตรฐานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทย เช่นไปรวมกับ sanook, kapook, google หรือทำ toolbar, add-on ใน firefox

  6. เยี่ยมเลยครับ รู้รอบมาร่วมด้วยก็ยิ่งดีเลยครับ
    อีกไอเดียหนึ่งคือ OpenGIS ซึ่งเป็น web-based GIS ที่อนุญาตให้ผู้ใช้มาแชร์ข้อมูลได้คล้ายๆ G-Earth แต่วิเคราะห์ทาง GIS ได้ครับ น่าจะเป็น Meta Layer

  7. ผมสนใจประเด็น Social movement support layer มากครับ ดดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดเครือข่าย citizen journalism นั้นเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

  8. Pingback: DONALD
  9. Pingback: smartwool socks
  10. Pingback: mailbox cover
  11. Pingback: poster bed
  12. Pingback: hot plate
  13. Pingback: paella pan
  14. Pingback: discount ugg boots
  15. Pingback: Diesel jeans
  16. Pingback: Wool hat scarf
  17. Pingback: Chanel sale
  18. Pingback: Moncer
  19. Pingback: Moncler jackets
  20. Pingback: Moncer
  21. Pingback: Moncler
  22. Pingback: Burberry handbag
  23. Pingback: Coach wallets
  24. Pingback: Moncler
  25. Pingback: Chanel sale
  26. Pingback: Burberry trench
  27. Pingback: Tiffanys
  28. Pingback: Burberry bags
  29. Pingback: Gucci bags
  30. Pingback: Coach bags
  31. Pingback: Moncler
  32. Pingback: Rolex watch
  33. Pingback: Gucci Watch
  34. Pingback: Chloe Paraty Bag
  35. Pingback: Gucci Outlets

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s