วันนี้ได้คุยกับ Harold Rosen ซึ่งเป็น director และ Rawong Rojvanit,  Program Analyst จาก IFC’s Grassroot Business Initiative ที่ไปสนับสนุนองค์กรที่ประกอบการทางสังคม (social enterprise) ในระดับ scale-up ขึ้นไป ลงทุนปีละหลายล้านเหรียญ

การพัฒนาตลาดทุนเพื่อการประกอบการทางสังคม

เรื่องส่วนใหญ่ก็คุยว่าเราจะนำเงินลงทุนจากต่างประเทศมาสนับสนุน social enterprises ในเมืองไทยและภูมิภาคได้อย่างไร โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตั้งขึ้นใหม่ (start-ups) ซึ่งย่อมจะค่อยๆโตขึ้นไปจนกลายเป็นลูกค้าของ GBI ได้ในอนาคต หากไม่รีบสร้างกลุ่มพวกนี้ไว้ ตลาดขององค์กรด้านนี้ที่มีคุณภาพอาจจะโตไม่ทันกับความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการขยายตัวของตลาดการลงทุนในเชิงสังคม

ซึ่งเราก็เล่าให้ฟังว่าปีที่แล้วเราเข้าไปลงทุนสนับสนุนผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่ผ่านหน่วยย่อยใน TRN ที่เราเรียกเท่ๆเอาเองว่า KaosCapital  ประมาณ 6 กลุ่มในประเทศไทย และ 7 กลุ่มในต่างประเทศ  ซึ่งมีหลากหลายตั้งแต่ทำ E-commerce ของชาวบ้าน ไปจนถึงทำ video podcasting service ซึ่งล้วนเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่มียุทธศาสตร์และแผนธุรกิจชัดเจนที่จะสร้างรายได้ให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงไม่ต้องพึ่งทุนให้เปล่าตลอดไป

อีกประเด็นหนึ่งก็คือลักษณะแนวโน้มขององค์กรอย่าง GBI และกองทุนที่ใกล้เคียงกันซึ่งกำลังค่อยๆจะลดบทบาทในเชิง retail investment ไปเป็น wholesome investment เพราะจะต้องพัฒนาความสามารถของการแข่งขันของตนบนเครือข่ายการเงินระดับสูง (high finance) มากกว่าจะมาพัฒนาขีดความสามารถในการเข้าถึง คัดกรอง และจัดการองค์กรประกอบการทางสังคมทังหลายโดยตรง  หน้าที่ดังกล่าวจึงจะต้องมีองค์กรที่มาทำหน้าที่ในลักษระตัวกลางที่เชื่อมโยงประสานและจัดการการลงทุนทางสังคมในระดับ retail กล่าวคือลงทุนตรงกับองค์กรประกอบการทางสังคมต่างๆ

ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ TRN พยายามจะทำให้เกิดขึ้นโดยการพัฒนาความสามารถขององค์กรให้ทำหน้าที่นี้ให้ได้  ซึ่งก็คล้ายๆกับที่ สสส. ที่ต้องมีองค์กรมาบริหารงาน retail อีกทีซึ่งเรียกว่าผู้จัดการแผนงานนั้นเอง  แต่ในกรณีนี้จะเป็นการจัดการในเชิง financial intermediary (ตัวกลางทางการเงิน) ซึ่งก็เป็นการเติบโตของอุตสาหกรรมการลงทุนเพื่อสังคม ซึ่งเริ่มมีการแบ่งงานตามความสามารถที่แท้จริงมากขึ้น ก็่ย่อมจะมี intermediary เหมือนในตลาดทุนทั่วๆไปนั้นเอง

ประเด็นสำคัญในเชิงเทคนิคก็คือการสร้าง Financial vehicle ที่จะสามารถจัดการทุนเหล่านี้ได้และการสร้าง portfolio หรือ survey ว่าตลาดดังกล่าวนี้มีขนาดเท่าใดในภูมิภาค  ซึ่งทาง GBI อาจจะเข้ามาร่วมช่วยสนับสนุน TRN ในเชิงความร่วมมือทางเทคนิคได้ (technical assistance) เมื่อได้ข้อมูลและเข้าใจสถานการณ์จริงของตลาดแล้วจึงค่อยๆดูว่าจะร่วมมือกันในเชิงการจัดการการลงทุนอย่างไรต่อไป

เมื่อเขาถามว่าแล้วจะให้เขาช่วย TRN ได้อย่างไร  ผมก็บอกว่าเบื้องต้นนอกจากความร่วมมือเชิงเทคนิคแล้ว  สิ่งที่ผมอยากได้จริงๆก็มีสองข้อ คือ

1. เวลาของเขา  ขอคุยด้วยแค่ 2 ครั้งต่อปี ที่ใดที่หนึ่งในโลก ซักครั้งละ 3 ชม.

2. ขอส่งทีมงานไปเรียนรู้ว่า GBI เขาลงทุนและจัดการการลงทุนอย่างไร  ขอเวลาซักหนึ่งอาทิตย์เท่านั้น จะบินไปเอง และจ่ายค่าใช้จ่ายเอง

ดูเขาก็อึ้งๆไปแป๊ปหนึ่ง แล้วก็เปลี่ยนสีหน้าเป็นรู้สึกสนุกขึ้นมาทันที เขาก็ตอบตกลง และบอกว่าหากเราไปจริงๆเขาจะจัด session เล็กๆให้ได้คุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆที่ DC เช่น Acumen fund ด้วย  เราก็ happy เลย….

การยอมรับว่าตนไม่รู้หรือไม่แน่ใจอาจเป็นสิ่งที่สร้างความเชื่อใจให้นักลงทุน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสนทนากับเขาก็คือเรื่องของการยอมรับว่าเราอาจจะไม่แน่ใจหรือไม่รู้จริงๆในทุกเรื่องที่เรากำลังทำอยู่   เขาถามหลายรอบในหลายประเด็นที่ผมยังคิดไม่แตก ผมก็ตอบไปตรงๆว่ายังไม่แน่ใจหรือไม่รู้  ซึ่งเมื่อสนทนาเรียบร้อยแล้ว เขาก็เสริมขึ้นมาว่าเขาชอบการสนทนานี้เพราะเราไม่มั่นใจเกินไป เปิดกว้างที่จะเรียนรู้ใหม่ๆ และกล้าที่จะยอมรับว่าไม่รู้ในหลายๆเรื่อง

ซึ่งเขาบอกว่าเป็นสิ่งที่เขาไม่ค่อยได้เจอในวงการ เขาจึงอยากช่วยหนุนเราเพื่อให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตลาดทุนเพื่อการประกอบการทางสังคม (social entrepreneurship capital market) อย่างน้อยก็จากประสบการณ์ที่เขามี   เนื่องจากเราบอกว่าเราไม่แน่ใจและไม่รู้ซึ่งเป็นความจริง ไม่ปิดบัง เขาจึงบอกว่าเขาเชื่อใจเรา เชื่อว่าน่าจะร่วมมือกันได้

ความยอมรับในความไม่สมบูรณ์ของตน ว่าตนไม่รู้ทั้งหมด ว่าทุกอย่างเป็นไปได้ ไม่แน่นอนนั้น กลับกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าขึ้นมาในสายตาของนักลงทุนบางคน  ซึ่งค่อนข้างจะแปลกไปจากที่หนังสือแนะนำเกี่ยวกับการระดมทุนมักกล่าวว่าเราจะต้องแสดงให้เห็นว่าเรารู้จริงๆว่าเราคิดมาดีมากๆแล้ว และต้องไม่แสดงความสงสัยตัวเอง

สุดท้ายเขาว่า self-criticism is truly important ที่จะทำให้งานสำเร็จในวงการใหม่นี้

เลยเอาเรื่องนี้มาฝากคนที่อาจสนใจเรื่องคล้ายๆกัน…

36 thoughts on “ บทเรียนจาก ​GBI สถาบันการลงทุนเพื่อผู้ประกอบการทางสังคม ”

  1. เป็นอะไรที่ผิดจากที่คิดไว้เลยแฮะว่า การยอมรับความไม่สมบูรณ์ กลับเป็นสิ่งที่มีคุณค่า สำหรับบางคน

    ชอบๆ

  2. อ่านแล้วดีครับ
    ดีทั้ง เนือหาความก้าวหน้า
    ดีทั้ง ข้อคิดเรื่องการยอมรับข้อไม่สมบูรณ์ ของตัวเอง เป็นเรื่องดีที่จำเป็น ต้องมีเป็นยาสามัญประจำตัวครับ

    ขอบคุณที่ update เนื้อหาของโลกมาให้รู้

  3. เห็นด้วยกับการยอมรับตัวเอง
    และแสดงความจริงใจว่า เรารู้จักตัวเอง
    แต่ไม่ท้อแท้หรืออายกับความไม่รู้
    เพราะคนเรามันก็ไม่ได้รู้ไปซะทุกอย่าง
    แต่ตรงกันข้าม กลับแสดงความอยากที่จะขจัดความไม่รู้ออกไปด้วย

    ดีใจที่เห็นแนวทางเติบโตที่เพิ่มมากขึ้นคับ

  4. 1. จากการศึกษาประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานทั้งไทย จีน ฝรั่ง ค้นพบว่า “เงิน หรือแรงอัดฉีด” มีผลต่อชัยชนะและความพ่ายแพ้ของกลุ่มต่างๆค่อนข้างมาก
    หากองค์กรที่ก้าวหน้าและทำเพื่อสังคม ได้รับแรงอัดฉีดที่ดี ย่อมชนะแน่นอน แต่ถ้าไม่มี สิ่งที่ฝันไว้อย่างสวยหรู อาจพังทลายลง

    2. ส่วนเรื่องยอมรับว่าไม่รู้ ไม่แน่ใจนั้น เห็นด้วยอย่างยิ่งว่านำไปสู่การเปิดกว้างต่อแนวคิดใหม่ๆ
    แต่ที่ต้องระวังคือ การเปิดต่อสิ่งใหม่ๆนั้น ถ้าไม่มี วิธีการวิเคราะห์และทฤษฏีที่ถูกต้อง ล้ำหน้า ปัจจุบันอาจต้องเป็น Chaos ก็อาจไปเจอสิ่งที่ไม่ดีได้ หรือดีแต่ยังไม่ดีพอสำหรับค่ำคืนนี้ 555

    บทเรียนที่ผมได้รับในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ “อย่าคิดแต่ผลได้ผลเสียมากเกินไป ให้เปิดกว้างต่อสถานการณ์ทั้งด้านดีและด้านลบ ใช้สติและปัญญาเพื่อจัดการทุกสรรพสิ่งที่ผ่านเข้ามา อย่างสบายอกสบายใจ ไม่รีบร้อน แต่ก็ไม่ชักช้า ทุกสิ่งขึ้นกับบริบทและวิสัยทัศน์แห่งอนาคต”

    คิดว่าอาจคล้ายกับความไม่แน่ใจ การเปิดกว้างต่อสิ่งใหม่ ที่คุณสุนิตย์ได้รับบทเรียน

  5. Pingback: BARRY
  6. Pingback: fleece hat
  7. Pingback: Fair Queen
  8. Pingback: Designer handbag
  9. Pingback: Koosh ball tongue
  10. Pingback: television stands
  11. Pingback: Chanel bags
  12. Pingback: Moncler jackets
  13. Pingback: Moncler
  14. Pingback: Moncler jackets
  15. Pingback: Chanel shoes
  16. Pingback: Burberry trench
  17. Pingback: Moncler jackets
  18. Pingback: fantastic bid
  19. Pingback: Tiffanys
  20. Pingback: gufix
  21. Pingback: Gucci handbags
  22. Pingback: Coach bags
  23. Pingback: Chanel bags
  24. Pingback: Moncler
  25. Pingback: Gucci wallets
  26. Pingback: Chloe Bags
  27. Pingback: Gucci Outlets
  28. Pingback: Gucci Outlets

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s