เมื่อวานนี้ได้ไปตอบคำถามใน Yahoo! รู้รอบเกี่ยวกับคุณรสนา ผู้สมัคร สว. ปัจจุบัน มีคนถามว่าเขาเป็นใคร ซักพักก็มีพวก liberal วิชาการแต่รู้ครึ่งๆกลางๆแต่กร่างมากมาตอบทำนองว่า พี่รสนาเป็น NGO ไม่มีหลักการ ต้านอย่างเดียว ขวางทางพัฒนาเศรษฐกิจ เรียกว่าพี่เขาเป็นพวกหลักเลน แค่ที่พี่เขาต้านการแปรรูป กฟผ. ที่มีเงื่อนไขไม่ได้เข้ากับแนวทางเศรษฐกิจเสรีนิยมด้วยซ้ำ ผมเลยเซ็งมากว่าคนที่กล้าเอาความจริงมาชนทำลายพวกโกงกิน จนศาลปกครองตัดสินออกมาว่าเป็น deal ที่ผิด แต่มีแต่พวกพูดมากไร้สมองมาเถียง ผมก็เลยหาข้อมูลมาแปะไว้ อาจจะไม่สมบูรณ์แต่ก็น่าจะชัดเจนว่าจริงๆแล้วเธอเป็นผู้ที่มีหลักการจริงๆ ไม่ใช่หลักเลน ก็เลยเอามาแปะไว้ด้านล่าง เพื่อใครสนใจครับ
แต่นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
1. การขัดขวางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ผิดกระบวนการ ไม่โปร่งใส และมีปัญหา เป็นการแปรรูปการผูกขาดโดยรัฐมาเป็นการผูกขาดโดยเอกชนไม่กี่รายนั้นไม่ได้เป็นการต่อต้านเศรษฐกิจเสรีเสมอไป แต่เป็นการปกป้องระบบเศรษฐกิจเสรีให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนได้ คือต้องดูว่าเงื่อนไขต่างๆนั้นเหมาะสมตามที่ควรจะเป็นในทางทฤษฏีหรือไม่ ไม่ใช่เหมารวมกันไปหมด
2. รู้อะไรก็ควรจะมีข้อมูลมาคุยแลกเปลี่ยนกัน ไม่ใช่ด่าชาวบ้านเขาว่าโง่ไปหมด ทั้งๆที่ตัวเองรู้แต่ทฤษฎีไม่ได้ดูเงื่อนไขรายละเอียดของสถานการณ์จริง
อ่านรายละเอียดได้ด้านล่างครับ
จาก th.answers.yahoo.com
รสนา โตสิตระกูล คือใคร?
ใกล้ เลือก สว. แล้ว พักนี้เห็นป้ายผู้ลงสมัครสว. เต็มสองข้างถนนเลย แต่คนนี้ เห็นเยอะเป็นพิเศษ และที่สำคัญ “เป็นผู้หญิง” อยากรู้ว่าเธอเป็นใคร ทำอะไรมาบ้าง ใครพอรู้ช่วยตอบด้วยนะคะ
-
by [Ashita]
-
รสนา โตสิตระกูล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีรสนา โตสิตระกูล เป็นนักรณรงค์ด้านสุขภาพ และเพื่อผู้บริโภค มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงขบวนการทุจริต กรณีการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ในกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2541 และต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2548 ปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) ลงรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 หมายเลข 241
ผลงานด้านสังคม
– เข้าร่วมโครงการพัฒนาชนบทเมื่อเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ธรรมศาสตร์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งปณิธานในการอุทิศตนเพื่อชาติ– ตรวจสอบทุจริตยา หนึ่งในแกนนำในการเคลื่อนไหวล่ารายชื่อ 50,000 รายชื่อ เพื่อยื่นตรวจสอบการทุจริตยาของกระทรวงสาธารณสุข จนเป็นเหตุให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น ถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี และถูกยึดทรัพย์เป็นจำนวน 233.8 ล้านบาท (รวมเวลาการเคลื่อนไหวทั้งสิ้นกว่า 6 ปี)
– ยับยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองในการยับยั้งการแปรรูปของ กฟผ. อันนำมาสู่คำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ. ทั้ง 2 ฉบับ
http://th.wikipedia.org/wiki/รสนา_โตสิตระกูล
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000040907 -
by Kanes
-
เพียงแต่มีความเห็น
เธอเป็นหนึ่งใน NGO ของหลายๆ คน
ผลงานล่าสุดก็คือ ประท้วงการแปรรูป กฟผ.
แล้วก็เรียกร้องให้รัฐเอา ปตท.ออกจากตลาดหุ้น
ก็เรียกว่าได้คืบจะเอาศอก เพราะเห็นว่ายับยั้งการแปรรูป กฟผ.ได้
ก็เลยคิดว่านี่คือความถูกต้องสำหรับฉันและคนไทย“ปล่าวเลยครับ” กฟผ.เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐถือหุ้น 100%
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ น่าจะเป็นฉบับที่ 5 หรือ 6
ซึ่ง ปตท. กสท. การบินไทย เขาทำแผนเสร็จก่อนก็เลยแปรไปก่อน
ซึ่ง กฟผ. ทศท. และรัฐวิสาหกิจอื่นที่ทำกำไรได้ ก็จะต้องถูกแปร
ในโอกาสต่อๆ ไปคุณรสนาฯ สามารถยับยั้งการแปรรูป กฟผ.ได้
ไม่ทราบว่าเกิดจากผู้เกี่ยวข้อง (?????) เกลียดทักษิณใช่หรือไม่
ถึงปล่อยให้เกิดอนาธิปไตยในบ้านเมืองโดยผ่านสถาบันของท่าน
โดยที่ท่านมิได้คำนึงถึงความถูกต้องและนโยบายของประเทศ
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ถ้าสำนักแผนฯ ทำไม่ถูกต้องก็เสนอยุบเสียเลยก็หมดเรื่องไป
เรื่องแบบนี้ทำเพื่อหลักการหรือหลักกูโดยส่วนตัวผมเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ที่มีผลขาดทุนทุกปี
ผมต้องไม่อยากให้มีการแปรรูปแน่ แต่ไม่สามารถต่อต้านได้
เพราะเราคำนึงถึงความถูกต้อง ซึ่งแนวความคิดการแปรรูป
มิได้เกิดในสมัยคุณชวน (แปรรูป กสท.โทรคมนาคมและไปรษณีย์)
มิได้เกิดในสมัยคุณทักษิณ (แปรรูป กฟผ. ทศท.)
แต่เกิดในสมัยนายกที่มองไม่เห็นมือ เอ้ย… พูดผิด
การกล่าวแบบนี้ก็ไม่ได้ว่าเกลียดคุณรสนาฯ
เพียงแต่มีความคิดเห็นในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่ง
ซึ่งยึดหลักการ ไม่ใช่หลักปักเลน ใช้ไม่ได้
เกรงว่าผู้ตั้งคำถามจะไม่เข้าใจ เรื่องหลักการ และหลักปักเลน
ดูตัวอย่าง โครงการโฮปเวลล์ นั่นเป็นไร
ถ้ายึดหลักการ วันนี้ประเทศไทยคงไม่ต้องพูดถึง logistic กันอีก
เข้าใจแล้วนะ… ผมไม่เลือกคุณรสนาฯ แน่ๆ …ขอบอก
———— คำตอบของผมมีดังต่อไปนี้
ตะกี้เห็นมีคำตอบประมาณว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นแนวทางที่ถูกต้องเสมอ ถ้าคุณรสนาแย้งและยังเป็น NGO อีก ก็แปลว่าคุณรสนาไม่ยึดหลักเศรษฐกิจเสรี และต่อต้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
เลยอยากจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ในกรณีการยับยั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไว้ซักเล็กน้อยครับ
หากฟังคำสัมภาษณ์ของคุณรสนาอย่างดีแล้ว คุณรสนากล่าวสนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาก็คือต้องเปิดเสรีอย่างเป็นระบบ มีกลไกดูแล ตรวจสอบ และไม่ผูกขาด ในกรณีการแปรรูป กฟผ. นั้นกระทำขึ้นโดยขาดกลไกตรวจสอบที่โปร่งใส เป็นการแปรรูปการผูกขาดโดยรัฐไปเป็นการผูกขาดโดยเอกชนไม่กี่ราย โดยมีเงื่อนไขการผูกขาดการลงทุนจากประชาชนหรือนักทลงทุนทั่วไปอยู่อย่างมาก ซึ่ง ปตท. เองก็เป็นผู้ได้ประโยชน์โดยตรง
และ กฟผ. ยังใช้สถานะการผูกขาดของตนมาสร้างกลไกการประกันกำไรที่ราว 8 % โดยหากขาดทุนหรือมีต้นทุนเพิ่มขึ้นก็จะไปขึ้นเอากับผู้บริโภค ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือการนำเอาโบนัสของพนักงานไปไว้ใน cost structure แทนที่จะอยู่ในกำไรจากต้นทุนตามหลักปฏิบัติทั่วไป แน่นอนว่าหากปล่อยให้เงื่อนไขการผูกขาดดังกล่าวดำรงอยู่แล้วเข้าไปในตลาดหลักทรัพย์ ย่อมนำไปสู่ market distortion ขนาดใหญ่ในตลาด และย่อมไม่ได้นำไปสู่การเปิดเสรีที่ถูกต้องแต่อย่างใด โครงสร้างทุน (capital structure) ของ กฟฝ. นั้นกำไรแปรผันตรงกับขนาดการลงทุนในขณะที่ผลกำไรถูกกำหนดด้วยการประกันเอาไว้ ดังนั้นก็ย่อมทำให้เกิดแรงจูงใจ (incentives) ที่มุ่งเน้นการลงทุนขนาดใหญ่ ละเลย และปฏิเสธการพัฒนาระบบพลังงานทดแทนซึ่งลงทุนถูกกว่า
ดังจะเห็นได้จากการที่ กฟฝ. ทำนายอัตราการใช้พลังงานของประเทศที่สูงกว่าค่าจริงเสมอมานับสิบๆปี จนนำไปสู่การใช้ข้อมูลที่บิดเบือนเหล่านี้ในการพิจารณาและอนุมัติแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งใช้เงินลงทุนสูงอีกด้วย
เงื่อนไขที่เลวร้ายต่อระบอบเศรษฐกิจเสรีนิยมในลักษณะนี้ย่อมไม่สามารถปล่อยให้เข้าไปสู่ระบบตลาดเงินตลาดทุนของประเทศได้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ผูกพันว่าจะไม่เปลี่ยนแม้จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว อันจะทำให้ผลประโยชน์ของชาติอยู่ในมือของนายทุนขนาดใหญ่ไม่กี่รายในลักษณะผูกขาด และกลายเป็นกลไกถาวรที่จะผลักภาระมาสู่ผู้บริโภคทั่วไปอย่างผมและคุณในที่สุด
และเป็นการปิดกั้นการเปิดเสรีทางพลังงานของไทยอย่างยั่งยืนอีกด้วย นี้ผมยังไม่ได้พูดถึงกรณีความชอบมาพากลอีกหลายกรณีของผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกี่ยวกับ deal นี้นะครับ
ผมจึงขอร้องให้ผู้ที่อาจจะด่วนสรุปเร็วเกินไปทั้งหลายว่าคุณรสนาเป็นพวกซ้ายจัดหรือพวกต้านทุกเรื่อง ได้พิจารณาจากข้อมูลทั้งหลายว่าแท้จริงแล้วคุณรสนานั้นช่วยให้เกิดระบบเศรษฐกิจเสรีที่มีประสิทธิภาพมีธรรมาภิบาล ซึ่งย่อมนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคต คุณรสนาต่อต้านการผูกขาดโดยเฉพาะการแปรรูปการผูกขาดจากภาครัฐไปสู่การผูกขาดภาคเอกชนที่จะเกิดขึ้นหากเงื่อนไขการ privatize เดิมทำได้สำเร็จครับ
ที่สำคัญก็คือการที่มีคนที่มีความคิดที่ชัดเจน มีตรรกะที่แข็งแรง และมีความกล้าอย่างคุณรสนานั้น ทำให้เกิดการให้ input กับศาลปกครองซึ่งใช้ทั้งหลักกฏหมายและเศรษฐศาสตร์มาร่วมพิจารณาแล้วเกิดข้อสรุปว่าเป็น deal ที่ผิดจึงเกิดการถอนออกไปในที่สุด ไม่ใช่คุณรสนาสรุปเอาเองนะครับ ช่วงนั้นมีนักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน โดยเฉพาะที่เป็น neoclassic ด้วยซ้ำที่ออกมาร่วมให้ข้อมูล และร่วมอยู่ในกระบวนการพิจารณาครับ
ระบอบเสรีนิยมทางเศรษฐกิจจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนก็ต้องบนหลักของความโปร่งใส ถูกต้อง ไม่ใช่ความมั่ว หรือการเหมาว่าใครต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนะครับก็ถือว่าไม่ใช่พวก liberal ไปเสียหมดนะครับ การปกป้องประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นเรื่องสำคัญนะครับ หากใครทำอย่างงี้แล้วโดนด่าหมด อีกหน่อยก็คงไม่มีใครออกมาทำอะไรดีๆมั้งครับ
ผมว่าก่อนจะหาว่าพี่เขายึด ‘หลักเลน‘ ไม่ใช่ ‘หลักการ‘ ก็น่าจะดูให้ชัดทั้งในเชิงทฤษฏีและเงื่อนไขในสถานการณ์จริงด้วยนะครับ อย่าลืมว่าศาลปกครองคงไม่ออกคำส่งมั่วๆแน่ครับ
ดังนั้นกรณี กฟผ. จึงไม่ใ่ช่เรื่องการขวางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่เป็นการตรวจสอบและดำเนินการกับการแปรรูปที่ไม่มีกระบวนการที่ถูกต้องครับ
ส่วนกรณี ปตท. นั้นอาจจะต้องใช้จินตนาการบ้างครับ คือหากไม่สามารถจัดการกับรัฐวิสาหกรรมที่กำไรแสนล้านบนการพลักภาระให้ผู้บริโภคทั้งๆที่ไม่ได้มีหน้าที่ maximize profit เงื่อนไขตลาดทุนอาจจะเป็นวิธีการหนึ่งที่น่าจะมองดูครับ ลองดูงานวิชาการที่ link ด้านล่างครับ คุณรสนาอาจจะมีหลักการมากกว่าที่หลายท่านคิดครับ
ส่วนเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯนั้นผมจะไม่ขอกล่าวถึงนอกจากอยากจะบอกว่าผลเชิงลบของแผนนั้นไม่น้อยนะครับ และแผนฯเองก็คงต้องการให้เกิดการแปรรูปที่กระทำอย่่างถูกต้องครับ
ผมเชื่อว่าคนอย่างคุณรสนาจะทำหน้าที่ สว. ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างดี อย่่างที่ผลงานของคุณรสนาที่มีมาโดยตลอดแม้จะไม่ได้มีตำแหน่งอะไร ผมเชื่อว่าการต่อต้านการโกงกินและความไม่ถูกต้องนั้น หากได้คืบแล้วต้องเอาศอกครับ ไม่งั้นประเทศก็คงจะโดนกินตลอดตัวแน่นอน
ผมเชื่อว่าผู้ตั้งคำถามเข้าใจอยู่แล้วละครับว่าหลักการต่างกับหลักเลนอย่างไร ไม่น่าต้องเป็นห่วงนะครับ
รายละเอียดเพื่อศึกษาเพิ่มเติม
ประเด็น กฟผ.
โครงสร้างกิจการไฟฟ้า โครงสร้างราคาค่าไฟฟ้า และแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP)
http://www.palangthai.org/docs/ElecStructureTariffPDP25.12.07.ppt
ธรรมาภิบาลกิจการไฟฟ้าในประเทศไทย: ตัวชี้วัดเพื่อรังสรรค์การปฏิบัติที่เป็นเลิศ และส่งเสริมระบบการรับผิดต่อสาธารณะ
http://www.palangthai.org/docs/EGTfinalreport.pdf
ประเด็น ปตท.
หมวก” ของรัฐ ผลกระทบ และบทเรียนของคดี ปตท.
http://www.fringer.org/wp-content/writings/state-hats-ptt.pdf
การปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครอง คดี ปตท. แนวทางและผลกระทบ
http://www.palangthai.org/docs/PTTverdictTUseminar9.1.08.ppt
ไม่มีความเห็นครับ
ตอนแรกก็ไม่ค่อยชอบเขา ดูเหมือน NGO งี่เง่า
แต่ดูอีกที เขาอาจมีเหตุผลของเขา
เอาเป็นว่าเฉยๆละกัน ตอนนี้