วันนี้ได้คุยในวงกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องการประเมินสถานการณ์เกมส์คอมพิวเตอร์ในสังคมไทย ก็เลยได้มีโอกาสคิดว่าปีนี้ TRN กับ สสส. และภาคีจะช่วยกันหนุนเสริมเรื่องเกมส์ดีๆอย่างไร
ประเด็น: ต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงๆก็คือการพัฒนาองค์กรคนรุ่นใหม่ที่ผลิตเกมส์เพื่อสังคมได้อย่างยั่งยืน โดยการสร้างเครือข่ายตลาดเกมส์เพื่อสังคมสิ่งแวดล้อม คล้ายๆกลุ่ม serious game developers ในต่างประเทศที่พัฒนาเกมส์เช่น foodforce ที่ให้ผู้เล่นสามารถสวมบทบาทในการปฏิภารกิจต่างๆ เช่นการใช้เฮลิคอปเตอร์ไปส่งอาหารให้คนยากจนในพื้นที่เสี่ยงต่างๆของ World Food Programme และ PeaceMaker ซึ่งให้ผู้เล่นมีโอกาสที่จะพยายามแก้ปัญหาระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์
ความท้าทาย:
1. เมืองไทยมีการส่งเสริม การประกวด เกมส์ต่างๆมากมาย แต่ยังขาดการต่อยอด โดยเฉพาะในกลุ่มที่ชนะการประกวดต่างๆ สุดท้ายก็ไม่สามารถทำอะไรต่อได้ ต้องเข้าไปในบริษัทใหญ่ๆเช่นเดิม ไม่สามารถพัฒนาเกมส์ตามความสนใจได้
2. การบริโภคเกมส์ของตลาดก็จะเป็นการเน้นเกมส์ต่างประเทศ เช่น เกาหลี และจีน เกมส์ที่ผลิตเองก็มีปัญหาต่างๆ เช่น เกมส์กล่องก็จะเจอปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ (piracy) เกมส์ออนไลน์ก็ยังไม่ค่อยมีตัวอย่างมากนัก
โอกาส:
การปรับโมเดลทางธุรกิจของผู้ผลิตเกมส์เพื่อสังคม เพื่อให้สอดคล้องและใช้โอกาสพิเศษด้านสังคมที่ผู้ผลิตเกมส์ปกติไม่มี โดยสำหรับการพัฒนากิจการเพื่อสังคม (social enterprise)
1. การหาผู้สนใจสนับสนุนการสร้างเกมส์ประเด็นสังคมในลักษณะ wholesale sponsor
ซึ่งน่าจะสามารถสร้างตลาดหรือพืิ้นที่เชื่อมโยงผู้สนใจสนับสนุนและผู้ผลิตได้ โดยจะต้องทำในลักษณะที่
– เข้าถึงกลุ่มผู้ซื้อ ผู้สปอนเซอร์ โดยเฉพาะในระดับสถาบันหรือองค์กรขนาดใหญ่ ทั้งของรัฐ องค์กรอิสระ องค์กรประชาสังคมที่มี่ทุน และส่วน CSR ของภาคธุรกิจ
– เข้าถึงผู้ผลิตที่มีคุณภาพและอยากผลิตเกมส์ที่มีประเด็นด้านสังคม
– มีผู้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงทั้งผู้สนับสนุนและผู้ผลิต เป็นตัวกลางบริหารความน่าเชื่อถือ โดยเป็นผู้พัฒนาความร่วมมือ การติดตามประเมินผลแต่ละ deal ที่เกิดขึ้น
2. การหาผู้สนับสนุนรายย่อย (retail sponsor)
– การเข้าถึงผู้สนับสนุนรายย่อยที่มีความสนใจประเด็นด้านสังคม
– การแก้ปัญหาเรื่องขนาดและการกระจาย เช่น ผ่านการสร้างความร่วมมือในช่องทางการกระจายเกมส์แบบใหม่ๆซึ่งมีขนาดใหญ่มากพอ เช่น การเปิดตลาดการกระจายเกมส์เพื่อสังคมไปยังโรงเรียน หน่วยงานระดับพื้นที่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เครือข่าย wifi สาธารณะ ซึ่งจะทำให้ช่องทาง (outlet) มีขนาดใหญ่จนสามารถดึงดูดผู้สนับสนุนรายย่อย (retail sponsors) โดยอาจมีการใช้กลไกแรงจูใจมาเสริม เช่นการแบ่งรายได้กับร้านเกมส์เน็ตคาเฟ่
3. การพัฒนากลไกเฉพาะเพื่อสนับสนุนธุรกิจเกมส์เพื่อสังคม
– การเชื่อมโยงกับกลไกกองทุนร่วมลงทุน (VC Funds) ทั้งที่ One Assets, SME Bank ทำอยู่ แต่ต้องมีการบริหารจัดการและพัฒนา deal ร่วมกับ คือต้องมีคนทำหน้าที่หา deal และพัฒนาให้ตรงกับ Investment criteria หรือเกณฑ์การลงทุน (Investment banking function) ไม่งั้นก็จะเข้าไม่ถึง
– การร่วมมือกับต่างชาติในเชิงวัฒนธรรม เพื่อจัดตั้งกองทุนในลักษณะเฉพาะ เช่น EU Fund, Media Development Loan Fund, Cultural fund
– การจัดระบบการเก็บภาษีวัฒนธรรม โดยเอาเงินจากสื่อเสี่ยงมาหนุนสื่อดี เช่นแนวทางที่เยอรมันเริ่มพัฒนาระบบภาษีที่คิดมลพิษทางวัฒนธรรมในลักษณะใกล้เคียงกับสิ่งแวดล้อม ส่วนนี้อาจจะใช้เวลานานกว่าจะสำเร็จ แต่หากสำเร็จก็ย่อมจะสามารถเกิดผลมหาศาลได้
30 thoughts on “ การพัฒนากิจการเกมส์เพื่อสังคมไทย ”