จากที่บอกว่ามีคนอยากช่นสานต่องานของอาจารย์สมบูรณ์ที่เสียชีวิตไป ถ้ามีหนึ่งเรื่องที่ผมอยากจะสานต่องานของอาจารย์สมบูรณ์คงไม่ใช่ความรู้หรือประเด็นที่อาจารย์สนใจโดยตรงนัก แต่น่าจะเป็นเรื่องที่อาจารย์สมบูรณ์เป็นผู้ที่เป็นเหมือนห้องสมุดของเนื้อหาวิชาการใหม่ๆประจำคณะฯ ห้องสมุดที่ว่าก็อยู่ในสมองกับในเครื่องของอาจารย์ที่คณะฯ 

หากไม่มีเวลาอ่านต่อ ผมก็อยากเสนอให้คณะฯทำหัวข้อต่อไปนี้

1. Online subscription วารสารต่างประเทศดีๆในระดับนักศึกษา 

2. ทำฐานข้อมูลออนไลน์งานวิชาการเศรษฐศาสตร์ของคนที่เกี่ยวข้องกับคณะฯ

3. ทำเครือข่ายออนไลน์อาสา (ให้/ค้นหา) ความรู้ของคนที่เกี่ยวข้องกับคณะฯ

4. Somboon Siriprachai Fellowship in Alternative Economics

ผมอาสาช่วยระดมทุนกับความร่วมมือจากคนที่สนใจมาทำให้เกิดครับ

หากมีเวลาอ่านก็อ่านต่อในรายละเอียด ติดตามได้ด้านล่างครับ …

คือห้องสมุดป๋วยนั้นถ้าจะหาหนังสือพื้นฐานหรือหนังสือโบราณก็จะเจอ แต่ถ้าจะหา journal ใหม่ๆ หรืองานวิชาการใหม่ๆเนี้ย ไม่ค่อยจะเจอ ทำให้นักศึกษาหัวก้าวหน้าหน่อยรู้สึกเศร้า 

แต่ความเศร้าก็หายไปเมื่อไปหาอาจารย์สมบูรณ์เพราะอาจารย์มักจะมีงานชิ้นนั้นๆอยู่ในเครื่องที่คณะ หรือไม่ก็มี subscription อะไรซักอย่่างที่จะเข้าถึงงานชิ้นนั้นๆได้ แถมยังสามารถแนะนำได้อีกว่างานชิ้นดังกล่าวอยู่ในวิชาเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่สาขาอะไร แนวคิดทั่วไปเป็นอย่า่งไร งานที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง จะไปหาข้อมูลต่อได้อย่างไร

จริงๆที่อาจารย์เป็นอย่างนี้อาจเป็นเพราะจบมาด้าน Economic History จาก Lund ที่ไม่ได้เข้าข้างสำนักเศรษฐศาสตร์สำนักใดสำนักหนึ่ง แต่เชื่อว่าแต่ละแนวคิดก็เป็นเพียงวิธีคิดหนึ่งๆไม่ได้ดีเด่นไปกว่า่สำนักใด เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ที่มีฐานความคิดความเชื่อต่างกัน (จริงๆผมก็ไปเรียน exchange กับภาค economic history ที่ Lund ก็เพราะอาจารย์นี้แหละ) 

ผมว่าอาจารย์เป็นตัวอย่างของอาจารย์ที่ช่วยนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้จริงๆ ไม่ได้เน้นว่าตนเองรู้อะไร แต่เน้นว่าสามารถช่วยให้นักศึกษาที่สนใจอะไรสามารถค้นหาความรู้นั้นได้ด้วยตัวเอง เป็นเหมือนไกด์นำเที่ยวแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ 

ดังนั้นข้อเสนอของผมในเรื่องการสานต่องานของอาจารย์ซึ่งอาจจะเรียกว่าโครงการ “สมบูรณ์ 2.0”

โดยเป้าหมายในการสร้างกลไกหรือระบบอะไรซักอย่างที่จะทำให้นักศึกษาที่สนใจวิชาความรู้เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ๆสามารถเข้าถึงความรู้เหล่านั้นได้ คือ

1. Online subscription วารสารต่างประเทศดีๆในระดับนักศึกษา 

ถ้าคณะยังไม่ได้ subscribe pool ของวารสารวิชาการสำคัญๆต่างประเทศให้นักศึกษา ก็ทำการระดมทุนเพื่อ subscribe ซะ เด็กๆจะได้หาข้อมูลเพิ่มพลังการเรียนรู้ได้ เหมือนตอนที่เด็กเราไป exchange ก็จะเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้หมด

2. ทำฐานข้อมูลออนไลน์งานวิชาการเศรษฐศาสตร์ของคณะฯ 

จัดระบบฐานข้อมูลงานวิชาการที่…
(1) อาจารย์เขียน ไม่ว่าจะส่งไปลงวารสารอะไร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ
(2) นักศึกษาส่งอาจารย์ หรือส่งประกวด ในระหว่างปีการศึกษา
(3) วิทยานิพนธ์

โดยให้งานเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ online ในลักษณะ full text search, เป็น ไฟล์ PDF หรือไฟล์สกุลอื่นๆ สามารถ download ได้โดยง่าย ซึ่งอาจจะทำระบบให้ส่งงานได้ออนไลน์ หรือหากระบวนการจัดการ scan งานสำคัญๆเก็บไว้ในฐาน คล้ายๆ google books + scholar 

และมีนโยบายระดับคณะให้งานที่อาจารย์และนักศึกษาเขียนนั้นใช้ลิขสิทธิ์ creative commons ซึ่งได้ port มาใช้กับกฏหมายไทยได้ในระดับหนึ่งแล้ว เป็นลักษณะลิขสิทธิ์ที่เจ้าของอนุญาตให้ผู้อื่นเอาไปใช้ต่อได้ตราบใดที่มีการอ้างอิงและไม่ได้ใช้เพื่อการค้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการติดลิขสิทธิ์ (ยกเว้นตอนส่ง journal ให้วารสารฝรั่งที่บังคับให้ลิขสิทธิ์เป็นของเขา แต่อาจารย์ก็ทำ derivative ไว้ได้อยู่ดี) อ่านรายละเอียดได้ที่ http://cc.in.th/

จริงๆเรื่องนี้นอกจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาในการค้นหาข้อมูลต่อยอดจากรุ่นพี่ๆแล้วก็ยังเป็นการสร้าง port งานทางวิชาการของนักศึกษาที่เป็นระบบที่เอาไปใช้อ้างเวลาจะสมัครเรียนต่อได้อีกด้วย 

ถ้าจะให้ดีก็ทำเป็นเหมือนเว็บที่อธิบายเศรษฐศาสตร์แต่ละสาขาใหม่สั้นๆ link งานสำคัญๆ ใครเป็นเจ้าสำนัก ฯลฯ ซะหน่อย ให้เด็กๆเข้าใจเรื่องนี้ได้ง่่ายและเร็วขึ้น เรื่องระบบออนไลน์ที่จะต้องหามาใช้นั้น ถ้าไม่ได้มีอยู่แล้ว ที่สถาบันฯของผมมีงานลักษณะนี้ที่เป็น open source อยู่ (digital library 2.0 type systems) อาจจะเอามาใช้ได้เลย ปรับนิดหน่อย ไม่ต้องใช้เงิน 

3. ทำเครือข่ายออนไลน์อาสา (ให้/ค้นหา) ความรู้ของคณะฯ

สร้างเครือข่าย online ของนักศึกษา ศิษย์เก่า และอาจาารย์ที่มีความสนใจที่จะทำหน้าที่เป็นกลุ่มอาสาหาให้ความรู้เศรษฐศาสตร์ คือเวลามี request งานวิชาการชิ้นใดๆ หรือแนวทางความรู้ใดๆ เครือข่ายดังกล่าวจะทำหน้าที่ช่วยหาข้อมูลเบื้องต้นให้ อาจจะช่วยแนะนำกันก็ได้ หรืออาจจะนัดแนะให้รู้จักกับนักวิชาการหรือผู้มีความรู้ในเรื่องนั้นๆในประเทศไทย โดยกลุ่มอาจจะมีเลขาฯซึ่งอาจจะระดมทุนมาจ้างในลักษณะเป็นคล้าย RA 3-4 คนในแต่ละปี คือเป็นคล้ายๆ distributed digital library service

เช่น มีคนอยากได้เนื้อหา profile ความเสี่ยงของการเมืองต่อเศรษฐกิจของไทย อาจจะมีใครมี account ของ Economist intelligence unit อยู่ก็โหลดมาให้น้องเขาหน่อย โดยอาจจะทำจำกัดรับบริการเฉพาะนักศึกษาของคณะที่ยอมจ่ายนิดหน่อย อาจมีโควต้าจำนวนครั้งที่ใช้ได้ (เพื่อแสดง commitment ว่าจะไม่ใช้อะไรมั่วๆ) ทดลองดู เผื่อดี อาจจะต่อยอดจาก facebook ฯลฯ ที่มีอยู่แล้วก็ได้

4. Somboon Siriprachai Fellowship in alternative economics 

ปีละกลุ่ม โดยมีเป้าหมายเชื่อมและสนับสนุนนักศึกษาทั้งตรี และโท ที่มีความสนใจวิชาการในด้านแปลกๆใหม่ๆสูง (alternative economics – institutional, economic history, austrian, behavioral, etc..) ให้สามารถเชื่อมโยงและเรียนรู้จากนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศอย่างเป็นระบบ เช่นมีการพาไปหานักวิชาการสุดยอดของเมืองไทยเป็นกิจลักษณะและต่อเนื่อง มีการเชื่อมโยงนักศึกษาเหล่านี้กับสถาบันหรือนักวิชาการในต่างประเทศผ่านคณะฯ มีการจัดสัมมนาวิชาการให้ อาจจะมีการสนับสนุนการจัดพิมพ์งานวิชาการให้ตามความเหมาะสม หรือเอาให้มีประโยชน์กว่านั้น อาจจะส่งคนเหล่านี้ไปฝึกงานในหน่วยงานที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 6 เดือน ตั้งแต่ ธปท. คลัง มูลนิธิสมาคม บริษัทและสถาบันการเงิน สถาบันวิจัย ฯลฯ โดยไม่ให้ฝึกที่เดียวแต่ให้วนไปเรื่อยๆ จะได้เกิดความเข้าใจเศรษฐกิจ-สังคม-การเมืองในหลากหลายมุมมองบนฐานความท้าทายจริงไม่ใช่เป็นวิชาการหอคอยงาช้าง และให้มีการพบเจอแลกเปลี่ยนประสปการณ์กันจริงจังในกลุ่มและให้นักศึกษาคนอื่นๆเข้าฟังอีกด้วย ประเทศไทยจะได้มีนักเศรษฐศาสตร์สายอื่นนอกจากพวก math/neo-classical ซะบ้าง

ทั้ง 4 ข้อที่ว่ามานี้ หากคณะฯสนใจ แต่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ (โดยเฉพาะข้อ 1) ซึ่งอาจมีไม่เพียงพอ หรือต้องการคนไปช่วยขับเคลื่อนให้เริ่มได้ก่อน ผมยินดีช่วยเป็นโต้โผระดมทุนและความร่วมมือจากหน่วยงานและศิษย์เก่ามาให้ ดีไหมครับ

ทำได้ซักอย่างใน 4 อย่างที่ว่านี้ ก็อาจจะเป้นจุดเริ่มต้นที่ดี ไม่ทราบคนอื่นคิดอย่างไร จะปรับแก้แนวคิดพวกนี้ที่ผมเสนอเป็นตุ้กตามาเล่นๆใหมครับ ใครสนใจลองกระจายความคิดนี้ไปดูครับ 

สุนิตย์

3 thoughts on “ โครงการ “สมบูรณ์ 2.0” ? ”

  1. Pingback: ERIC
  2. Pingback: WALLACE

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s