จริงๆควรจะมีกฏหมายที่กำหนดค่าเฉลี่ยเมื่อหารอายุรวมของกรรมการสำคัญๆ ของชาติไหมเนี้ย เพื่อไม่ให้การตัดสินใจ มุมมอง แนวคิดมันยึดโยงกับอดีต จนปิดทางสู่อนาคตไป เช่น กสทช. วันนี้ก็สรุปว่าอยากจะเป็น กบว. ซะเอง หรือกรรมการกฤษฏีกา..เวลาเข้าไปทีไรเนี้ยมันรู้สึกโลกมันย้อนเวลาไปมาก หรือกรรมการกองทุนอะไรต่อมิอะไร กรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย …
บางทีประเทศชาติมันไม่ไปข้างหน้า เท่าที่ควร เพราะการตัดสินใจมันอยู่บน nostalgia บางอย่าง มันคือผลเสียของ generation gap ระหว่างกรรมการชาติ กับยุคสมัยของชาติในปัจจุบัน.. ส่วนอนาคตคงไม่ต้องพูดถึง ไล่กวดปัจจุบันให้ได้ก่อนก็เก่งแล้ว
ผมเคยมีส่วนร่วมในการร่างคำสั่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการชาติ หรือระเบียบสำนักนายกฯ หรือระเบียบคณะกรรมการใน พรก./พรบ. ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะกำหนดสัดส่วนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆที่มาจากประชาชน/ภาคเอกชน กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่เคยมีการกำหนดสัดส่วนอายุเฉลี่ย หรืออายุรวมไว้เลย ว่าไม่ให้เกินเท่าไหร่ ผลก็คือกรรมการชาติก็มักจะคิดจากโลกยุคสมัยของตัวเองที่มักจะผ่านไปแล้วโดยไม่รู้ตัว
ผมไม่ได้บอกว่าผู้สูงอายุซึ่งมีประสบการณ์มากมายไม่ดีนะครับ เราจำเป็นต้องมีแน่นอน แต่เราอาจจะต้องเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ๆเข้าไปทำหน้าที่ถ่วงดุลมาสู่โลกยุคปัจจุบันหรืออนาคตบ้าง
ถ้าไม่ทำแบบนี้ ก็เหมือนล็อคสเป็คกรรมการชาติต่างๆไว้ที่คนอายุมากเป็นหลัก
ไปเสนอกฏหมายใน change.org กันไหม ?