เมื่อประมาณสองอาทิตย์ที่แล้ว ได้ไปประชุมการให้รางวัลนวัตกรรมเพื่อสังคมแห่งเอเชียแฟซิฟิคที่รัฐบาลไต้หวันเป็นผู้สนับสนุน ในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาไต้หวันเดินงานเชิงนวัตกรรมเพื่อสังคมและกิจการเพื่อสังคมไปอย่างค่อนข้างเร็ว  ผมยังจำได้ว่าเมื่อสามปีที่แล้วตอนไปประชุมด้วยใหม่ๆทุกอย่างยังเพิ่งเริ่มต้น ที่น่าสนในมีหลายประเด็น เช่น 

– มีการจัดกลไกสนับสนุนอย่างเป็นระบบ การให้การยอมรับและการสนับสนุนโดยรัฐ มีกองทุนของเอกชนหลายแห่งมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ  บริษัทบางแห่งเช่น KPMG ตั้งหน่วยด้านนี้ที่ไปทำงานกับรัฐเพื่อทั้งปรึกษาและจัดการให้เกิดผล 

– ประเด็นกิจการเพื่อสังคมนั้นเขาเน้นเชื่อมโยงกับประเด็นนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่มีเป้าหมายชัดเจน เช่น การแก้ปัญหาสังคมสูงอายุ เรื่องการค้าที่เป็นธรรม (fair trade) หรือ การฟื้นฟูเมืองโดยการใช้วัฒนธรรมและสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น กล่าวคือไม่ได้พูดแค่เรื่อง SE แต่พยายามโยงในฐานะเครื่องมือนวัตกรรมที่เอาไปแก้ปัญหาสังคม ซึ่งก็คล้ายกับแนวทางของ NIA ในประเทศไทยที่น่าจะเชื่อมโยงเรียนรู้กับเขาได้   

– ที่เด็ดมากๆคือ ส.ส. หัวใหม่จำนวนหนึ่งจากหลายพรรคได้ร่วมกันตั้งเป็นกลุ่มงาน อาจจะคล้ายๆกรรมาธิการ ในประเด็น “นวัตกรรมเพื่อสังคม (social innovation)” อย่างเป็นทางการด้วย เพื่อทำความเข้าใจปัญหา โอกาส และผลักดันนโยบายโดยใช้กลไกสภาผู้แทนมาเป็นจุดคานงัดสำคัญ ส.ส. คนสำคัญที่รับผิดชอบเรื่องนี้คือ Karen Yu ที่อยู่ในรูปคนที่สองด้านล่างจากซ้าย ซึ่งเขาเคยทำงานเรื่อง Fair Trade และนวัตกรรมเพื่อสังคมมายาวนานก่อนจะมาเป็น ส.ส. เขาว่าถ้า ส.ส. ในไทยใครที่อาจสนใจเรื่องแบบนี้อาจเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามประเทศในกลุ่มเอเชี่ยนกันเองได้ ถ้า ส.ส. ไทยมีกลุ่มที่สนใจเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคมโดยที่มีองค์ประกอบหลายพรรคทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ร่วมมือกันได้ก็น่าจะดีมาก ใครสนใจบอกได้นะครับ 

– เชื่อมโยงประเด็นดิจิตอลเป็นแนวทางการขับเคลื่อนทั้งเรื่อง SE และนวัตกรรมทางสังคม มีรัฐมนตรีดิจิตอลเป็นคนประสานอยู่ด้วย (คนกลางแถวล่าง) เลยมีความเชื่อมโยงไปเรื่อง civic tech เยอะอยู่ ทั้งเรื่องระบบอย่าง vTaiwan ที่ให้คนสามารถมาให้ความเห็นในประเด็นที่เห็นต่างกันเยอะๆแล้วมีเทคโนโลยีที่ช่วยหาจุดร่วมที่พอจะตกลงกันได้เพื่อนำไปพัฒนานโยบาย ประเด็นที่เคยผ่านกระบวนการนี้ก็มีเรื่องกฏหมายเรื่อง Uber หรือประเด็นการขายแอลกอฮอล์ออนไลน์  และระบบ open data ที่นำมาเป็นฐานการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาตั้งแต่เรื่องฝุ่น pm2.5 ของเขา ยันเรื่องข้อมูลงบรัฐบาล และบริการภาครัฐที่ทำงานใกล้ชิดกับพวกองค์กรสาธารณะประโยชน์หรือ startup , SE เพื่อมาร่วมพัฒนานวัตกรรมการให้บริการของรัฐที่ดีขึ้น

มีเรื่อง fake news / misinformation ที่เขากำลังสร้างทางป้องกันและแก้ปัญหา เริ่มได้ผล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือระหว่างประชาสังคม รัฐ วิชาการ และ platform ต่างๆ เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังอีกที

ซึ่งทั้ง ส.ส. และรัฐมนตรีดิจิตอลที่พูดคุยกันแบบเป็นกันเองมาก กินไปคุยไปกันเป็นชั่วโมง  หวังว่าคงจะได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาสร้างประโยชน์กับเมืองไทยบ้าง และใครอยากร่วมมือกับเครือข่าย SE, CivicTech หรือ ส.ส. ที่สนใจเรื่องนี้ที่นู่นก็บอกได้จ้า 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s