Miracle

The other day I was relistening to Gorecki Symphony no.3 and was inspired by the chord progression on the end of 1st movement, it seems to be a common theme in many classical works. I was playing around the various variations on the theme. Now the early part of Yoshiki’s new classical piece “Miracle” also […]

Read more "Miracle"

Bruch’s Violin Concerto No.1

สำหรับคนที่ชอบเพลงที่ให้อารมณ์ของออเคสตร้า ที่เต็มไปด้วยพลังที่เคลื่อนไหว ความดิบที่ร้อยเรียงไว้ในความสวยงามคล้าย Beethoven แต่ต้องการเสียงเครื่องดนตรีหลักที่เด่นละเอียด และผาดโผนพาขึ้นสวรรค์ลงนรกได้เช่น Liszt แล้วนั้น Violin Concerto No. 1 in G minor ของ Max Bruch ซึ่งแต่งไว้ในปี 1866 นั้นย่อมทำให้คุณชอบได้อย่างแน่นอน ผมเองรู้สึกประทับใจมากๆกับ concerto นี้ เป็นอะไรที่ตื่นเต้นขนลุกเวลาฟังที่สุดในรอบสองเดือนที่ผ่านมา  แถมยังมีการเล่น Bass ในบางช่วงคล้ายเพลงสมัยใหม่มาก ออกจะเป็น Jazz ด้วยซ้ำโดยเฉพาะในช่วงกลางๆค่อนไปทางปลายของ movement ที่ 1 เป็นอะไรที่มหัศจรรย์มาก ผมฟังของ Kyung Wha Chung ซึ่งเธอเล่นได้อย่างสวยงาม รุนแรง เล่น violin แบบกัดๆคล้ายกับเล่นกีตาร์ไฟฟ้าในวงร็อกอารมณ์ X-Japan นะครับ ใครชอบหวานกว่านี้เห็นว่า Joshua Bell ก็เคยเล่นไว้เหมือนกัน ลองไปฟังดูครับ

Read more "Bruch’s Violin Concerto No.1"

Beethoven; Triple concerto, Bb Rondo & Choral Fantasy

Beethoven: Triple Concerto; Rondo in B flat; Choral Fantasy Clemens Hagen (Performer), Ludwig van Beethoven (Composer), Nikolaus Harnoncourt (Conductor), Chamber Orchestra of Europe (Orchestra), Pierre-Laurent Aimard (Performer), Thomas Zehetmair (Performer) วันนี้เอาอัลบั้มที่ซื้อมาซักพักแล้วมาฟังใหม่บน iPhone ขณะนั่งรถไฟฟ้าบนดินใต้ดินไปกลับร้านตัดเสื้อและ office รู้สึกว่ามันเพราะและได้อารมณ์ Beethoven อย่างยิ่งยวด   คือรู้สึกได้ถึงความดิบและเรียบง่ายที่เต็มไปด้วยอารยธรรมและความสวยงาม    ความกลมกลืนของความละเอียดอ่อน และพลังที่พุ่งพล่านอย่างมีจังหวะทำนอง   การสอดรับกันของ Piano และเครื่องสายทำได้อย่างเรียบง่ายแต่ยิ่งใหญ่  สลับช่วงช้าและเร็วในช่วงที่ไม่ห่างกันนัก    ทุกท่วงทำนองเกิดจากอะไรที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนแล้วค่อยๆพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ยิ่งเพลงสุดท้าย Choral fantasy นั้นเต็มไปด้วยความสดใสและสนุกสนานแต่รู้สึกได้ถึงความหวังที่ยิ่งใหญ่ ผมแถบจะ march […]

Read more "Beethoven; Triple concerto, Bb Rondo & Choral Fantasy"

นวัตกรรมคือซิมโฟนี่ (Innovation as symphony)

วันนี้เกิดความคิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรม   โดยเฉพาะจากมุมมองของนวัตกรรมในเชิงเครือข่าย  จริงๆก็ไม่มีอะไรใหม่ แต่ภาพในหัวมันชัดดี เลยเอามาเขียนไว้กันลืม 1. นวัตกรรมที่ประสบผลสำเร็จมักไม่ได้เกิดจากอัฉริยะข้ามคืน (Lone innovator) 2. นวัตกรรมใหม่ๆมักเกิดจากความซ้อนทับเชื่อมโยงกันของความรู้หรือนวัตกรรมเดิมๆที่มีอยู่แล้วในเครือข่าย  แต่มาบรรจบกัน (intersect) ด้วยมุมมองหรือรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งเรียกว่านวัตกรรมเชิงแปลง (recombinative innovations) 3. ดังนั้นนวัตกรรมจึงคล้ายกับเพลงซิมโฟนี่ซึ่งมีส่วนประกอบที่หลากหลาย มีการพัฒนาส่วนต่างๆตลอดเวลา เชื่อมซ้อน แบ่งรับ แบ่งสู้ สอดประสานกันอย่างลงตัวของหลากท่วงทำนอง ที่เมื่อรวมกันแล้วเกิดเป็นภาพรวมใหม่ที่ไพเราะมีความเป็นองค์รวมที่ไม่อาจแยกส่วนแล้วรู้สึกเหมือนเดิมได้ 4. ยิ่งหากมองนวัตกรรมไม่ได้แยกเป็นชิ้นๆแต่เป็นในเชิงนิเวศ (Innovation-ecosystems) ซึ่งมีนวัตกรรมต่างๆเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลาแล้ว ยิ่งคล้ายกับเพลงซิมโฟนี่ที่มีคุณภาพเข้าไปใหญ่ในเชิงว่าแนวทำนองที่หลากหลายต่างมีจุดเด่นของตนเอง มีเสียงจากเครื่องดนตรีต่างๆ ที่ผสมผสาน แบ่งช่วงกันในจังหวะที่หลากหลาย แต่สามารถรวมกันได้ พลักอารมรณ์ความรู้สึกของคนฟังไปในทิศทางเดียวกันได้ เช่นเดียวกับนวัตกรรมต่างๆที่เสริมเติมกันและกันในหลากหลายระดับ 5. บทบาทของนวัตกรในกระบวนการส่งเสริมนว้ตกรรมในลักษณะซิมโฟนี่ก็คือการดึงความสามารถของนักดนตรี ดูแลอารมณ์เพลง กำกับจังหวะ ให้ทุกสิ่งประสานสอดคล้องกันเป็นความสวยงาม  เกิดความงามใหม่ในทุกๆช่วงเพลงแต่ก็กลมกล่อมในภวังค์ 6. จริงๆหากให้สมจริงขึ้น  มันจะไม่ใช่เพลงซิมโฟนี่แบบดั้งเดิม แต่จะเป็นเพลงซิมโฟนี่ที่เล่นแบบแจ็ซ ซึ่งแม้จะมีโน็ตกำหนดมาเบื้องต้น แต่ก็จะสามารถ improvise ได้ไม่มีที่สิ้นสุดในการหาสิ่งที่ใหม่และไพเราะออกมาจากโครงเดิมไปสู่ชีวิตใหม่ของโน็ตเหล่านั้น 7. การเล่นของวงจะต้องดึงความมีส่วนร่วมและความสนใจของคนดูให้ได้ ซึ่งทั้งความสามารถของ conductor และวง […]

Read more "นวัตกรรมคือซิมโฟนี่ (Innovation as symphony)"

เพลงประกอบภาพยนต์ของ Ennio Morricone

อัลบั้มที่ประทับใจผมที่สุดที่ซื้อมาในช่วงฉลองปีใหม่ที่ร้าน Gramophone (Paragon) ก็คืออัลบั้มเพลงประกอบภาพยนต์โดย Ennio Morricone เขาเป็นนักแต่งเพลงและ conductor จากอิตาลีซึ่งมีแนวทางการแต่งเพลงที่ไม่เหมือนใครในช่วงนั้น พื้นฐานของ Ennio เป็นเพลง Classic ที่มีแนวทางไปในลักษณะ Romantic แต่ไม่ฟู่ฟ่าหรือโฉ่งฉ่าง เน้นความสวยงามของเมโลดี้ theme / motif ตามลักษณะเพลงประกอบภาพยนต์ และใช้เพลงลักษณะนี้ในการประกอบภาพยนต์โดยเฉพาะแนว American Western / Cowboy ซึ่งทำได้อย่างลงตัวจนน่าตกใจ เหมือนเป็นการผสมผสานโลกเก่าของยุโรปมาห่อหุ้มภาพของโลกใหม่ในอเมริกา เขาร่วมกับผู้กำกับเช่น Sergio Leone นำแนวทางการทำหนังแบบยุโรป มาทำหนังฮอลีวู๊ตได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะเมื่อมีดนตรีประกอบซึ่งสามารถดึงอารมณ์ได้รุนแรงที่สุด เช่นในเรื่อง Once upon a time in the West   เพลงที่ผมชอบที่สุดในอัลบั้มคือเพลง Deborah’s theme ของเรื่อง Once upon a time in America ซึ่งใช้เวลาเพียงราว 4 […]

Read more "เพลงประกอบภาพยนต์ของ Ennio Morricone"