เมื่อสื่อเผยแพร่ความเกลียดชัง

สื่อที่เผยแพร่ข้อมูลสัมภาษณ์ของคนที่อ้างหรือเชื่อข่าวลวง แล้วกลายเป็นเครื่องสร้างความเกลียดกลัวชิงชังว่าคนกลุ่มหนึ่งเป็นพวกล้มเจ้า ทั้งๆที่ไม่มีหลักฐานอะไร มีแต่การมั่วซั่วบิดเบือนมโนหรือนำข้อความออกมาใช้นอกบริบท สื่อพวกนี้ควรต้องรับผิดชอบอะไรไหม ?
(Read more)

Read more "เมื่อสื่อเผยแพร่ความเกลียดชัง"

นิติวิทย์ มารผจญ หรือเทวฑูต ?!!

จากที่น้องเนติวิทย์เจ้าเก่าออกมาทะเลาะกับการสอนพุทธศาสนาในโรงเรียนนั้น (http://www.naewna.com/local/61054) ผมก็ยังไม่เห็นว่าที่น้องเขากล่าวมันเสียหายอย่างไร เขาแค่เห็นว่าพุทธศาสนาที่สอนในโรงเรียนมันเหมือนเป็นลัทธิ ไม่ใช่ศาสนา… ผมจำได้ว่าตอนที่เรียนอยู่ในโรงเรียน วิชาพุทธศาสนาเป็นวิชาที่น่าเบื่อที่สุดวิชาหนึ่ง ต้องท่องจำคำบาลีและความหมาย อะไรประกอบไปด้วยอะไร เต็มไปหมด จำเสร็จก็สอบ สอบเสร็จก็ลืม เป็นอย่างนี้ทุกปี พระที่มาสอนก็มักจะพูดเรื่องจริยธรรมศีลธรรมไปเรื่อยๆซึ่งมักจะน่าเบื่อมาก ผมเบื่อมากขนาดไปลงเรียนคำสอนคาทอลิกเลย แต่อยู่ๆก็ไปหยิบหนังสือแก่นพุทธศาสตร์ของพระพุทธทาสขึ้นมาอ่อน อ่านแล้วตกใจมากว่าโอ้นี่พุทธเกิดจากการตั้งคำถาม ความทุกข์คืออะไร เป็นอย่างไร จะดับอย่างไร จิตใจทำงานอย่างไร ปรุงแต่งกันไปมาอย่างไร   ไม่เห็นจะเหมือนกันที่เรียนในห้องที่พุทธศาสนาเหมือนจะตั้งคำถามอะไรไม่ได้ ท่องๆไปให้สอบได้ ใครท่องบาลีได้เยอะก็ได้คะแนนเยอะ ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจอะไรขึ้นมา จากพุทธทาสผมก็เริ่มอ่านมากขึ้น ถามคนนั้นคนนี้มากขึ้น นั่งสมาธิอะไรไปเรื่อย ไปแนวสายวัดป่า แล้วไปออกเซน สุดท้ายก็คงยังไม่ได้เข้าใจพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งอะไรนัก  แต่ก็พิสูจน์แล้วด้วยตัวเองว่าเหมาะกับตัวเราที่สุดแล้ว เกิดประสบการณ์ทางศาสนาขึ้นเองแล้ว จนเลือกที่จะเป็นพุทธด้วยตัวเองอย่างรู้สึกดี ซึ่ง… พุทธศาสนาที่สอนกันในโรงเรียนไม่ได้ช่วยอะไรผม และเดาว่าไม่ได้ช่วยอะไรเด็กๆ กลับยิ่งทำให้ผมเบื่อพุทธศาสนามากขึ้น ผมรู้สึกมานานแล้วว่าพุทธศาสนาในตำราเรียนมันบ่อนทำลายศาสนาเสียด้วยซ้ำ เพราะเป็นการตัดไม่ให้เด็กสนใจพุทธศาสนาด้วยตัวเอง ไม่ให้ตั้งคำถาม ไม่ให้พิสูจน์อะไร ไม่ให้คิดวิเคราะห์ตัวเอง แต่ต้องท่องจำได้เป็นนกแก้วนกขุนทอง ตั้งคำถามไม่ได้ เห็นต่างไม่ได้  ซึ่งสุดท้ายก็สร้างให้คนจำนวนมากที่เรียนผ่านมาก็กลายไปเข้าแนวสมีคำสไตล์ พระจานบิน หรือพระเครื่องกันเสียเยอะ  ซ้ำยังทำเสมือนหนึ่งว่าเป็นสถาบันศาสนาที่จะหลบหลู่ตั้งคำถามไม่ได้ แตะไม่ได้ ซึ่งถ้าปล่อยไปก็อาจจะยกระดับเป็นพวกพุทธหัวรุนแรง (Buddhist extremist) […]

Read more "นิติวิทย์ มารผจญ หรือเทวฑูต ?!!"

ASEAN E-MEDIA STARTUPS COMPETITION LAUNCHED!

APPLICATION DEADLINE: 15 Feb 09SEACEM, ChangeFusion and Freevoice are proud to accept applications for “ASEAN E-Media Startups Competition” with the goal of identifying talented e-media startups in ASEAN that innovatively bring independent news & views with financial sustainability in order to significantly enhance freedom of expression, openness and political & economic liberty in the region. […]

Read more "ASEAN E-MEDIA STARTUPS COMPETITION LAUNCHED!"

ReadCamp: “รักการอ่าน” ในโลก 2.0 ?

  หลายคนเมื่อได้ยินคำว่า “รักการอ่าน” ก็อาจจะส่ายหัว เบื่อหน่าย แล้วรู้สึกไปว่าเป็นพวกรณรงค์ให้เด็กๆมารักการอ่านแนวกระทรวงฯซึ่งมักไม่ค่อยได้ผลอะไรเท่าใด พวกคนเล่นเว็บหลายๆคนอาจจะรู้สึกต่อต้านด้วยซ้ำเพราะผู้จัดงานและนักวิชาการเกี่ยวกับ “รักการอ่าน” นั้นชอบกล่าวหาว่าอินเทอร์เน็ตทำให้สมาชิกสั้น ทำให้เด็กอ่านหนังสือหนังสือน้อยลง ทำให้ขาดความลึกซึ้งของการอ่านแบบดั้งเดิม แล้วทางออกที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมา “อ่านๆๆๆ” นั้นจะอยู่ที่ไหน คำถามนี้ดูจะไร้คำตอบ และหายไปในสายลมแห่งเทคโนโลยี แต่เมื่อวันที่ 29 พศจิกายนที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ใหม่ของคนรักการอ่าน    เมื่อบรรดาผู้ที่ชื่นชอบการอ่านในโลกออนไลน์ได้รวมตัวกันจัดกิจกรรม “ReadCamp ทุกอย่าง อ่านได้” ขึ้นที่หอศิลป์กรุงเทพฯ  ในงานมีบรรยากาศที่แปลกใหม่พอควรสำหรับวงการนักอ่าน เพราะไม่ได้มีการกำหนดเนื้อหาหรือกำหนดการมาก่อน  ใครอยากมา “อ่าน” อะไรก็เอาหัวข้อที่ตัวเองอยากอ่านให้คนอื่นฟังไปแปะไว้ที่กระจก  แล้วคนมางานคนอื่นๆก็เอาสติกเกอร์กลมๆเล็กๆไปแปะไว้ข้างๆหัวข้อนั้นถือเป็นการโหวต  หัวข้อไหนมีคนโหวตมากก็จะได้รับเชิญไปอยู่ในตารางหน้าห้องที่เตรียมไว้ 3 ห้อง ส่วนคนมาร่วมงานคนไหนอยากฟังเรื่องไหนก็เข้าห้องนั้น ซึ่งเป็นวิธีจัดงานสไตล์ใหม่คล้ายๆงาน BarCamp ในกลุ่มนักเทคโนโลยีสารสนเทศรุ่นใหม่ๆ หัวข้อการอ่านก็หลากหลาย ไม่ได้มีแค่มาอ่านหนังสือให้ฟังเหมือนงานรักการอ่านทั่วๆไป  เพราะมีคนที่เอาหนังสือพิมพ์มาอ่าน  อ่านการ์ตูน อ่านนิทาน อ่านสติ้กเกอร์ท้ายรถ มาอ่านเว็บไซต์ หรือแม้แต่มาอ่าน twitter (บริการออนไลน์คล้ายๆ MSN) นอกจากการอ่านสื่อที่หลากหลาย หัวข้อก็ยิ่งหลากหลาย มีตั้งแต่อ่านสามก็กแบบโรแมนติก  อ่าน paper วิชาการอย่างไรให้สนุก […]

Read more "ReadCamp: “รักการอ่าน” ในโลก 2.0 ?"

Creative artist รุ่นใหม่เพื่อสังคม ทำอย่างไรให้อยู่ได้?

สิ่งที่เมืองไทยไม่เคยขาดคือคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเรื่องศิลปะ การเขียน การสื่อสาร การทำหนังสั้น การทำกราฟิิค การเต้นร่วมสมัย และคนในกลุ่มนี้จำนวนหนึ่งก็มักจะมีความสนใจประเด็นทางสังคมอย่างมาก ปัญหาก็คือคนกลุ่มนี้มักจะสามารถทำอะไรให้สังคมได้อยู่พักสั้นๆ เช่น ทำเคมเปญในประเด็นเช่นโลกร้อน ซึ่งอาจจะน่าสนใจ และสำเร็จมาก แต่สุดท้ายพวกเขาก็จะไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืนได้ และต้องแยกย้ายกันไปทำสิ่งอื่นๆเพื่อความอยู่รอด ผมเชื่อว่าหนึ่งในทางออกของประเด็นนี้ก็คือสิ่งที่เรียกว่าการประกอบการเพื่อสังคม (social enterprising) คือการตั้งองค์กรไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรก็ตาม แต่จะมีภารกิจหลักในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาโอกาสเพื่อสังคม แต่จะเน้นว่าจะต้องสร้างรายได้เองทางใดทางหนึ่ง ไม่ใช่หวังทุนให้เปล่าแต่อย่างเดียว ตัวอย่างที่น่าสนใจของกิจการเพื่อสังคมของ creative artist รุ่นใหม่ก็คือองค์กรที่เรียกว่า Idea!s Creative ที่ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ 5 คนที่ทำงาน ad agency ได้ประมาณสองปีแล้วลาออกมาร่วมกันตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่ออกแบบและจัดการการสื่อสาร (design & communication management) ให้กับองค์กรด้านสังคม พวกเขาเชื่อว่างานด้านสังคมยังขาดการนำเสนออย่างน่าสนใจ ขาดความแปลกใหม่ ทำให้ประเด็นสำคัญๆในสังคมที่องค์กรสาธารณะประโยชน์ต่างๆทำอาจจะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร Idea!s Creative มีลูกค้าตั้งแต่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และแผนก CSR (งานด้านความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม) ของบริษัทใหญ่ๆซึ่งสามารถจ่ายได้มากไปจนถึงกลุ่ม NGO เล็กๆที่อาจจะไม่มีเงินจ้างพวกเขาแต่มีประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจ พวกเขาทำตั้งแต่เว็บไซต์ หนังสือ แผ่นพับ ไปจนถึงวิดีโออนิเมชั่นให้กับลูกค้า […]

Read more "Creative artist รุ่นใหม่เพื่อสังคม ทำอย่างไรให้อยู่ได้?"