อย่าให้รางวัลมาตัดสินความเป็นผู้ประกอบการของคุณ

หลายคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับการได้หรือไม่ได้รางวัลที่ เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ  ไม่ว่าจะเป็น SME ตีแตก เถ้าแก่น้อย หรือจะเป็นรางวัลเพื่อกิจการเพื่อสังคมต่างๆ   คนที่ได้ก็ดีใจภูมิใจกันไป บางคนได้รางวัลแล้วเหลิง ตั้งตนเป็นกูรู หรือกลายเป็นพวกติดรางวัลไปก็มี  แต่คนที่ไม่ได้บางคนก็เสียใจเพราะใช้เวลาเตรียมการไปเยอะ แล้วหลายครั้งที่ไม่ได้รางวัลอย่างที่หวังไว้ก็กลายเป็นการเสียความมั่นใจ ของผู้ประกอบการบางคนไป  บางคนก็บ่น เซ็ง โกรธ เบื่อ โบ้ยตั้งแต่คนจัดรางวัล กรรมการ หรือตัวเอง  กลายเป็นชีช้ำ หรือออกแนวมองโลกในแง่ร้ายแล้วติดกัดจิกกิจกรรมในลักษณะนี้ไปก็มี ตัวผมเองในฐานะผู้ประกอบการคนหนึ่งซึ่งก็ชวดรางวัลต่างๆมาอย่างต่อเนื่องเช่น กัน (เกิดมาเพิ่งเคยได้รางวัลที่เอามาทำงานได้ซัก 2 รางวัลเล็กๆเท่านั้นเอง) แต่การที่ผมทำงานในองค์กรที่เน้นร่วมลงทุนสนับสนุนผู้ประกอบการหรือจัด โปรแกรมรางวัลบ้าง  ผมก็มีสิ่งที่อยากฝากให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเรื่องรางวัลดังต่อไปนี้ รางวัลใดๆไม่ได้บอกว่าเรามีคุณค่าหรือไม่  แค่บอกว่าคนอื่นเขามองเราอย่างไร อย่าสับสนระหว่างรางวัล และความสำเร็จ อย่ายอมให้รางวัลต่างๆมาแย่งเวลาเราไปจนงานหลักเราหดหรือตกไป พยายามขอข้อคิดเห็นของกรรมการ ว่าเราขาดตกอะไรไป แล้วมาปรับปรุง ต้องคิดใช้รางวัลในเชิงรุก เอามาใช้ให้มากกว่าแค่ตัวรางวัล

Read more "อย่าให้รางวัลมาตัดสินความเป็นผู้ประกอบการของคุณ"

Steve Jobs ถาม “คุณคือภารโรงหรือเปล่า?!!”

Steve Jobs ชอบเล่าเรื่องเกี่ยวกับความรับผิดชอบของทีมงานมืออาชีพว่า ข้อแตกต่างระหว่างภารโรงและรองประธานก็คือข้ออ้าง…. คือหากมีปัญหาอะไรในงานที่ทำให้งานไม่สามารถลุล่วงไปได้นั้น คนในระดับภารโรงก็สามารถอ้างเหตุผลต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องน่าเชื่อถือที่อธิบายว่าทำไมทำงานไม่สำเร็จได้ เพราะเราไม่อาจจะคาดหวังความเป็นมืออาชีพหรือความสามารถของภารโรงได้มากนัก แต่การใช้เหตุผลอธิบายสาเหตุความผิดพลาดของงานนั้นจะค่อยๆหมดความสำคัญไปเมื่อตำแหน่งงานสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ steve jobs ตำแหน่งที่เหตุผลหมดความสำคัญไปเลยก็คือตำแหน่งรองประธาน (VP) ขึ้นไป หากทำงานไม่สำเร็จหรือผิดพลาดการอ้างเหตุผลต่างๆก็ยิ่งจะเป็นการตอกย้ำการขาดความสามารถของตัวเอง ทางเลือกมีแค่สองทางก็คือ (1) ยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขอย่างรวดเร็ว (2) ออกไป  เพราะการแก้ตัวด้วยเหตุผลเป็นเรื่องที่ทำได้หากคุณอยู่ในตำแหน่งเล็กๆ ส่วนตัวผมคิดว่าแนวคิดนี้ออกจะแบ่งไพร่ อำมาตย์ไปหน่อย แต่ก็น่าคิดทีเดียว… เวลานึกอยากจะแก้ตัวว่าทำไมทำอะไรไม่สำเร็จเพราะเหตุผลร้อยแปดพันเก้า ลองถามตัวเองว่าเราเป็นภารโรงหรือเปล่า ? จาก How Apple Works http://tech.fortune.cnn.com/2011/05/09/inside-apple/

Read more "Steve Jobs ถาม “คุณคือภารโรงหรือเปล่า?!!”"

การแก้ปัญหาเรื่อง scope creep

ปัญหาใหญ่ของผมตอนนี้คือเรื่อง Scope Creep หรือการที่กรอบภาระงานที่ตกลงไว้เดิมกับองค์กรสนับสนุน/ลูกค้านั้นขยายขึ้นเรื่อยๆไม่สิ้นสุด   แม้จะวางกรอบงานหรือความคาดหวังไว้ชัดเจนแต่แรกเพียงไรก็ตาม  ซึ่งทำให้มีปัญหากับงานชิ้นอื่นๆและการจัดการทรัพยากรบุคคลในแต่ละงานมาก  วันก่อนไ้ด้ไปคุยกับพี่คนหนึ่งซึ่งเป็น consultant มาเป็นสิบปีใน Chicago ก็เลยได้ข้อแนะนำว่า 1. ถ้าไม่ไหว ลูกค้าห่วย ก็อย่าไปทำ เพราะแปลว่าเขาไม่เห็นคุณค่าของเรา ปัญหาจะขยายขึ้นเรื่อยๆ จะโดนเอาเปรียบมากขึ้นเรื่อยๆ 2. ให้ลูกค้าทำเอง  โดยช่วยวิเคราะห์ ช่วยกำกับดูแลให้ แต่ไม่ทำให้  ทำให้ลูกค้าเห็นว่างานมันเพิ่มขึ้นจริงๆและไม่ได้ทำง่ายขนาดนั้น ซึ่งอาจจะทำให้ลูกค้ายกเลิกความต้องการที่ไม่จำเป็น หรืออาจจะเพิ่มงบที่ต้องใช้จริงให้ 3. หากคิดว่ามันจำเป็นต้องทำ และน่าจะทำงานกับลูกค้านั้นๆได้ยาวในอนาคต ก็ต้องทำแต่ควรจะบอกลูกค้าให้ชัดเจนว่ากรอบมันขยายขึ้นอย่างไร ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะทำให้ฟรี หรือขอให้ลูกค้าเพิ่มงบก็เป็นอีกเรื่อง เยี่ยมเลย

Read more "การแก้ปัญหาเรื่อง scope creep"

แนะแนวสุดเยี่ยม

Daniel Pink คนเขียน The Whole New Mind ออกหนังสือใหม่เกี่ยวกับการแนะแนวเด็กและผู้ใหญ่เกี่ยวกับหน้าที่การงานแบบแปลกๆดี น่าคิดสุดๆ เลยเอา slide ที่เพื่อนเขาซึ่งเป็นสุดยอดปรมาจารย์ present ทำมาฝากครับ | View | Upload your own

Read more "แนะแนวสุดเยี่ยม"

foosci.com: เว็บ social network ต้านมาลาเรีย

ไปอ่านเว็บรวมข่าวและเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ของไทย foosci.com เจอบทความสุดยอดครับ อยากให้ web master ไทยคิดอย่างงี้บ้าง และรู้สึกดีที่มีคนไทยอย่าง foosci ที่อุตส่าห์แปลบทความอย่างงี้ให้บนเว็บครับ เจ้าของ soccer.net คนแรกที่ขายเว็บนี้ให้กับ ESPN ไปในราคา 40 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อตอนอายุ 17 ปีได้เปลี่ยนความสนใจของตัวเองมาสร้างเว็บ social network เพื่อต่อสู้กับมาลาเลียในอาฟริกาซึ่งสามารถนำไปสู่การลงทุนตรงกับนักวิจัยใน Africa ได้ อ่านต่อ http://foosci.com/node/61

Read more "foosci.com: เว็บ social network ต้านมาลาเรีย"

การออม-ลงทุนเพื่อเกษียณ สุดท้ายแพ้เงินเฟ้อ!

เมื่อช่วงสงกรานต์ได้ไปกินข้าวกับญาติๆพร้อมกับคุณตา มีญาติรุ่นพี่คนหนึ่งเป็น Fund Manager อยู่ที่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งเป็นกองทุนเย็นที่ใหญ่ที่สุดกองหนึ่งในประเทศ เมื่อถามว่าพี่เขาเป็นห่วงเรื่องไหน หรืออยากทำอะไรที่สุดตอนนี้ เขาบอกว่าอยากไปจัดระบบการออม และการลงทุนเพื่อการเกษียณของคนไทยให้ใหม่ ทั้งในด้านการศึกษาและเชิงระบบการลงทุน ปัญหาก็คือโครงสร้างประชากรของไทยกำลังจะเหมือนยุโรปขึ้นเรื่อยๆ คือจากปิระมิดตั้ง ไปเป็นปิระมิดกลับหัว เพราะคนสูงอายุจะเยอะขึ้นเรื่อยๆขณะที่สัดส่วนของคนวัยทำงานจะลดลงเรื่อยๆ หากปล่อยไปอย่างงี้โดยไม่มีการจัดการใดๆ เศรษฐกิจในอนาคตของประเทศย่อมจะถดถอยและมีวิกฤตอย่างแน่นอน เพราะระบบการประกันสังคมและระบบการลงทุนเพื่อการเกษียณยังล้าหลังอยู่มาก ย่อมจะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีภาระจนกระทบกับการเจริญเติบโตของประเทศ เพราะ surplus จะต้องถูกนำไปดูแลประชากรสูงอายุ ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาสังคมอย่างรุนแรง ซึ่งปรากฏการณ์นี้กำลังเกิดขึ้นในยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งแม้จะมีการพัฒนาแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบตลอดมา แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการได้อย่างแท้จริง แล้วเมืองไทยจะเหลืออะไร ปัญหาเชิงระบบอีกข้อก็คือการออมหรือการลงทุนเพื่อการเกษียณในปัจจุบัน มักจะมียุทธศาสตร์ในลักษณะที่ ultra conservative คือไม่ยอมให้มีโอกาสเสียเลยแม่แต่ quarter เดียว ได้ดอกเบี้ยหรือปันผลน้อยไม่เป็นไร ซึ่งผลตอบแทนของการบริหารกองทุนในลักษณะนี้ย่อมจะทำได้มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารเพียงเล็กน้อย และย่อมไม่สามารถสู้กับเงินเฟ้อได้ เช่น ถ้าคิดง่ายๆ แบบ simplify หน่อย ถ้าได้ผลตอบแทนได้เพียง 5% ในขณะที่เงินเฟ้อ 7% ในปีนั้นๆ ก็ย่อมทำให้สินทรัพย์ที่แท้จริงติดลบ 2 % นั้นเอง ซึ่งหากปล่อยให้เรื้อรังต่อเนื่องไปก็ย่อมทำให้ผู้ออมหรือผู้ลงทุนนั้นแทบจะไม่ได้อะไรเลย แถมยังเสียอีกในระยะยาว […]

Read more "การออม-ลงทุนเพื่อเกษียณ สุดท้ายแพ้เงินเฟ้อ!"

9 เคล็ดวิชานวัตกรรมของ Google โดย Marissa Mayer!

Marissa Mayer เป็น VP ฝ่าย Search Product และ User Experience ของ Google และชักนำคนเก่งๆมาทำงานที่ Google อีกมากมาย เมื่อวานได้ฟัง podcast ของเธอที่ Stanford Technology Venture Program’s http://edcorner.stanford.edu/authorMaterialInfo.html?mid=1554 เลยได้ข้อสรุปสั้นๆมาเก้าข้อ 1. ไอเดียมาจากทุกที่ทุกทาง จากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน จาก users และทุกๆคน สำคัญคือต้องจับไอเดียมาเข้าระบบที่ทำให้ไอเดียที่ดีได้สุดค่อยๆขึ้นไปสู่สุดยอดได้ผ่านการแข่งขัน การสนับสนุน และข้อมูล 2. แบ่งปันทุกๆอย่าง ต้องทำให้คนในองค์กรแชร์ทุกความคิด ต้องให้แต่ละคนก้าวข้ามความคับแคบเกี่ยวกับเรื่อง credit ฯลฯ ต้องทำให้องค์กรให้ความสำคัญกับคนที่ก่อให้เกิดไอเดียเยอะๆดีๆโดยไม่มาคำนึงมากเกินไปว่าไอเดียไหนของใคร 3. จ้างคนที่เยี่ยมที่สุด ไม่ใช่แค่คนฉลาด (hire not just the best but the most brilliant) การทำงานกับคนที่เยี่ยมย่อมทำให้เราได้เรียนรู้ และลดความจำเป็นเกี่ยวกับกฏระเบียบต่างๆ […]

Read more "9 เคล็ดวิชานวัตกรรมของ Google โดย Marissa Mayer!"

คิดอย่างไร เมื่อต้องสื่อสารเพื่อ (เรียนรู้ + พัฒนา)

ไปเจอ blog ของ Dave Gray เจ้าของ Xplane.com ผู้ให้บริการ information visualization / management เขียนแนะนำไว้ว่าโมเดลการคิดเพื่อการสื่อสารควรจะเป็นอย่างไร สรุปสั้นๆก็คือมี 3D = < Discover-vision, Design-clarity, Do-result> แล้ววนเป็น loop ซึ่งมีกระบวนการย่อยๆที่ต้องตอบ 10 อย่างคือ Dave Gray » 3d: A model for learning and improvement 1. เราต้องการอะไร 2. ใครสามารถช่วยให้เราได้อย่างที่ต้องการหรือไปสู่เป้าหมายได้ 3. ทำไมคนพวกนั้นต้องสนเรื่องนี้ด้วย 4. ข้อมูลอะไรที่จำเป็นเกี่ยวข้องในการทำให้คนพวกนั้นสนใจ 5. เราจะทำให้ข้อมูลสารสนเทศชัดเจนได้อย่างไร ุ6. เขาเข้าใจหรือเปล่า 7. เขาตกลงที่จะทำตามหรือเปล่า 8. เขาได้ทำจริงๆหรือเปล่า 9. เป้าหมายของเราบรรลุหรือไม่ 10. เราเรียนรู้อะไร […]

Read more "คิดอย่างไร เมื่อต้องสื่อสารเพื่อ (เรียนรู้ + พัฒนา)"

ถอดรหัสสร้างนวัตกรรมสไตล์ Google

นิตยสาร Harvard Business Review ฉบับ April 08 มีบทความที่ชื่อ Reverse Engineering Google’s Innovation Machine ผมก็เลยคิดว่าเอามาสรุปให้เพื่อนๆที่สนใจเรื่องนวัตกรรม และการสร้างธุรกิจแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะในหมู่นักประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่และ TRN ซึ่งร่วมหัวจมท้ายด้วยอยู่ก็น่าจะมีประโยชน์บ้าง ผู้เขียนบทความนี้คือ Bala lyer และ Thomas H. Daveport ซึ่งพยายามเลือกแนวการจัดการนวัตกรรมสำคัญๆของ google บางส่วนที่ธุรกิจหรือหน่วยงานอื่นๆน่าจะนำไปประยุกต์ได้ ซึ่งก็ประกอบไปด้วย 1. การจัดการด้วยความใจเย็นอย่างมียุทธศาสตร์ (Strategic patience) เป็นการยอมที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ๆโดยไม่ผูกกับผลสำเร็จระยะสั้นมากเกินไป แต่อดทนรออย่างใจเย็นในการสร้างนวัตกรรมที่หลากหลายซึ่งมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์กับองค์กร ซึ่งจะเกิดผลได้ในระยะกลางหรือยาว  ในกรณีของ google ก็คือการเปิดบริการหรือ product ใหม่ๆตลอดเวลาจาก google labs CEO ของ google ที่ชื่อ Eric Schmidt เองก็เคยกล่าวว่าจะต้องสร้างตลาดของบริการที่มีคนใช้มากๆๆอย่างยั่งยืนก่อน จากนั้นย่อมจะสามารถหาวิธีฉลาดๆในการทำเงินจากบริการนั้นๆได้อย่างแน่นอน แต่เราก็ต้องระลึกว่าที่ google สามารถอดทนรอได้ในลักษณะนี้ ก็ย่อมเป็นเพราะรายได้มหาศาลจากการลงโฆษณานั้นมีมากพอที่จะทดแทนรายจ่ายที่เสียไปกับการพัฒนาบริการใหม่ๆนี้ […]

Read more "ถอดรหัสสร้างนวัตกรรมสไตล์ Google"

การเก็บปัญญาดิจิตอลของไทย ไว้เพื่อคนในอนาคต (และปัจจุบัน)

ช่วงนี้ผมดีใจมากที่ได้กลับมาช่วยริเริ่มงานที่เป็นแนวที่สนใจมาตลอด นั้นก็คือการเก็บและเผยแพร่ปัญญาของคนไทยที่ควรค่าต่อการเก็บไว้ให้คนไทยได้เรียนรู้ในรูปแบบดิจิตอล  ผมเคยคิดตั้งแต่สมัยเรียนว่าอยากจะไปถอดความรู้และเก็บชิ้นงานต่างๆของคนไทยที่สุดยอดแต่อายุมากแล้ว  เพื่อที่ว่าเมื่อคนเหล่านี้ไม่อยู่แล้ว หรือไม่สามารถสื่อสารได้อีกต่อไป คนรุ่นหลังทั้งในตอนนี้และอีกร้อยพันปีข้างหน้าจะสามารถเข้าถึงความคิด ความรู้ และปัญญาเหล่านี้ได้ หากจะแบ่งสารใดๆออกเป็นระดับเรียงจากศักยภาพน้อยไปมาก ก็คือ ข้อมูล  สารสนเทศ  ความรู้ และปัญญา (data, information, knowledge and wisdom) ผมจะสนใจปัญญาเป็นพิเศษ  เพราะเป็นสิ่งที่ไปเหนือความรู้ธรรมดาๆ เกิดจากประสบการณ์และการสะท้อนความเป็นมนุษย์ทั้งในเชิงศาสตร์และศิลป์แล้ว   หรือสำหรับผมอาจจะเรียกว่าเป็นความเห็นทีี่มีคุณภาพ (high quality opinion) ก็ได้ ผมรู้สึกว่าสิ่งนี้สำคัญกว่าข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ เป็นอย่างมาก   เพราะมนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความหมายและมีประโยชน์ต่อโลกก็ต่อเมื่อเขาเกิดปัญญาขึ้นเอง หรือมีโอกาสที่เข้าถึงปัญญาของคนอื่น ที่สามารถมาสะท้อนกับจิตใจ และการมองโลกของตนได้ จนเกิดเป็นการมีปัญญาในมิติต่างๆของคนๆนั้น ปัญญาจะช่วยให้คนมีศีลธรรม จริยธรรม และเป็นคนดีได้โดยตั้งอยู่บนความแข็งแรงของตรรกะและเหตุผล และการเก็บบันทึกปัญญาหรือความเห็นที่มีคุณภาพเหล่านี้  โดยเฉพาะจากคนที่เราเชื่อว่ามีปัญญาที่เกิดจากการทรงความรู้หรือการเข้าใจประเด็นอะไรอย่างลึกซึ้งจึงสำคัญมาก ที่ผ่านมา คนเหล่านี้อาจจะเขียนความรู้ของตนออกมา โดยมีเนื้อหาด้านปัญญาแทรกอยู่บ้าง แต่ก็มักจะมีน้อยรายที่ทำเช่นนี้  หลายครั้งเมื่อคนเหล่านี้เสียชีวิต หลายๆสิ่งที่มีประโยชน์เหล่านี้ก็จะหายไปกับพวกเขา นอกจากนั้น คนไทยไม่ใช่ชนชาติที่อ่านหนังสือเท่าใดนัก  แต่ชอบดู ชอบฟัง ดังนั้นวิธีการบันทึกเป็นวิดีโอและเสียงจึงเป็นแนวทางที่น่าจะทำให้เนื้อหาเหล่านี้เข้าถึงง่ายขึ้นสำหรับผม  ในการถ่ายทำเนื้อหาสั้นๆจากแต่ละท่าน เช่นไม่เกินท่านละ […]

Read more "การเก็บปัญญาดิจิตอลของไทย ไว้เพื่อคนในอนาคต (และปัจจุบัน)"

Bootcamp for Social Startups (Thailand!)

เมื่อวานได้นัดคุยกับเจ้านายเก่าของสหายผู้หนึ่ง   ได้ความว่าเรามีความสนใจตรงกันหนึ่งเรื่อง กล่่าวคือการทำให้คนรุ่นใหม่เข้ามาการประกอบการทางสังคม (social enterprise) ซึ่งก็คือการริเริ่มองค์กรที่มีเป้าหมายในการแก้ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมโดยมีแนวทางที่มีความใหม่ เป็นนวัตกรรม มีประสิทธิภาพวัดผลได้ และยังสามารถสร้างรายได้ให้ยั่งยืนได้ด้วยตัวเองทางใดทางหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องขอเงินแหล่งทุนไปเรื่อยๆ หรือมีความสัมพันธ์ที่พิเศษกับแหล่งทุนเพียงพอที่ทำให้แหล่งทุนต้องใช้บริการอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ตัวอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ทำ E-Commerce ให้ชาวบ้านโดยรายได้ส่วนใหญ่กลับไปที่ชาวบ้าน   ธุรกิจการทำ podcasting ประเด็นทางสังคม  ธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงสถาปัตฯ  หรือแม้แต่การทำภาพยนต์สะท้อนประเด็นทางสังคมแต่สามารถทำให้น่าสนใจ มีคนดู อันนำไปสู่การสร้างรายได้ที่มั่นคงอีกด้วย อย่างไรก็ตามคนรุ่นใหม่ที่คิดไปในแนวทางนี้มีอยู่น้อยมากๆ  จำเป็นที่ต้องเร่งจุดประกาย และหนุนเสริม กระตุ้นให้เกิดขึ้นมากๆ ไม่เช่นนั้นแม้จะสามารถสร้างตลาดทุนสำหรับการประกอบการทางสังคมได้สำเร็จก็อาจจะไม่สามารถหาองค์กรหรือธุรกิจเพื่อสังคมที่มากพอที่จะเกิดประสิทธิภาพในการลงทุนที่มีคุณภาพได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดที่จะทำอะไรคล้ายๆการสร้างบรรยากาศแบบ Silicon Valley Startup Culture แต่เป็นสำหรับผู้ประกอบการทางสังคมขึ้น  คือเป็นโครงสร้างและวัฒนธรรมที่ชื่นชมนวัตกรรมใหม่ ยอมที่จะเสี่ยง ล้มแล้วลุกได้ มี mentor และผู้สนใจให้ความช่วยเหลือ แต่เป็นไปด้วยการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ ฯลฯ (รูปจาก KaosPilot) ทางออกของเรื่องนี้คือแนวคิดที่จะสร้างอะไรคล้ายๆโรงเรียนสอนธุรกิจทางเลือก (alternative business school) ขึ้นมาคล้ายๆเป็นวิทยาลัยการจัดการเพื่อการประกอบการทางสังคม ซึ่งในโลกนี้ใกล้เคียงที่สุดก็คือสิ่งที่เรียกว่า KaosPilot ทีเดนมาร์ค เป็น business school ที่เน้นให้นักศึกษาหรือผู้เข้ากระบวนการเรียนรู้เรื่องการทำธุรกิจแบบใหม่ๆโดยเฉพาะที่เป็นธุรกิจซึ่งเป็นนวัตกรรมทางสังคม และต้องให้ทดลองตั้งธุรกิจจริงๆขึ้นมาด้วยไม่ใช่แค่เรียนจากหนังสือหรือการพูดคุย […]

Read more "Bootcamp for Social Startups (Thailand!)"

บทเรียนจาก ​GBI สถาบันการลงทุนเพื่อผู้ประกอบการทางสังคม

วันนี้ได้คุยกับ Harold Rosen ซึ่งเป็น director และ Rawong Rojvanit,  Program Analyst จาก IFC’s Grassroot Business Initiative ที่ไปสนับสนุนองค์กรที่ประกอบการทางสังคม (social enterprise) ในระดับ scale-up ขึ้นไป ลงทุนปีละหลายล้านเหรียญ การพัฒนาตลาดทุนเพื่อการประกอบการทางสังคม เรื่องส่วนใหญ่ก็คุยว่าเราจะนำเงินลงทุนจากต่างประเทศมาสนับสนุน social enterprises ในเมืองไทยและภูมิภาคได้อย่างไร โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตั้งขึ้นใหม่ (start-ups) ซึ่งย่อมจะค่อยๆโตขึ้นไปจนกลายเป็นลูกค้าของ GBI ได้ในอนาคต หากไม่รีบสร้างกลุ่มพวกนี้ไว้ ตลาดขององค์กรด้านนี้ที่มีคุณภาพอาจจะโตไม่ทันกับความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการขยายตัวของตลาดการลงทุนในเชิงสังคม ซึ่งเราก็เล่าให้ฟังว่าปีที่แล้วเราเข้าไปลงทุนสนับสนุนผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่ผ่านหน่วยย่อยใน TRN ที่เราเรียกเท่ๆเอาเองว่า KaosCapital  ประมาณ 6 กลุ่มในประเทศไทย และ 7 กลุ่มในต่างประเทศ  ซึ่งมีหลากหลายตั้งแต่ทำ E-commerce ของชาวบ้าน ไปจนถึงทำ video podcasting service ซึ่งล้วนเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่มียุทธศาสตร์และแผนธุรกิจชัดเจนที่จะสร้างรายได้ให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงไม่ต้องพึ่งทุนให้เปล่าตลอดไป อีกประเด็นหนึ่งก็คือลักษณะแนวโน้มขององค์กรอย่าง […]

Read more "บทเรียนจาก ​GBI สถาบันการลงทุนเพื่อผู้ประกอบการทางสังคม"

IdeaFactory เครื่องสร้างนวัตกรรมจากคนหมู่มาก (Swiss made!)

คุณเคยไปงานประชุมขนาดใหญ่ที่ผู้จัดได้ระดมสมองจากผู้ร่วมงานนับร้อยพันคนไหม ? ซึ่งคุณก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่พอประชุมจบ ข้อสรุปที่ได้จากความเห็นของผู้ร่วมประชุมก็มั่วไปหมด ไอเดียที่เอามาสรุปก็เลือกเอาที่ผู้ใหญ่ในงานชอบ สุดท้ายก็ไม่ค่อยได้อะไร นอกจากผู้จัดสามารถเหมาได้ว่าการประชุมนั้นๆมีข้อสรุปตามที่พวกเขาต้องการได้ ส่วนคุณก็นั่งบื้อๆรู้สึกเซ็งๆ แต่คุณเชื่อไหมว่ามันเป็นไปได้ที่จะระดมสมอง ระดมไอเดียเป็นพันๆ แล้วผ่านกระบวนการคัดสรร หลอมรวม เชื่อมโยงอย่่างเป็นระบบ จนกลายเป็นสุดยอดไอเดียนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาโอกาสในประเด็นที่เราสนใจกันอยู่ได้อย่างน่าอัศจรรย์  เหมือนกระบวนการผลิตของเครื่องจักรในโรงงานทำช็อกโกแล็ตที่รวมเอาวัตถุดิบต่างๆที่แตกต่างและหลากหลายมาผสมผสานกันเป็นช็อคโกแล็ตที่กลมกล่อมหลากรูปแบบและรสชาติอันสุดจะต้านทาน …. (From Charlie and the Chocolate Factory) จะดีไหมถ้ามีเครื่องสร้างนวัตกรรมจากคนหมู่มากอย่างที่ว่า  และในทุกๆสัมมนาหรือการประชุมต่างๆ สามารถดึงเอาความคิดความเห็นความรู้ ที่เกิดจากความเชัี่ยวชาญเฉพาะของแต่ละคนที่ไปงานนั้นๆ แล้วสามารถหลอมรวมกันเป็นไอเดียนวัตกรรมคุณภาพสูงที่เราสามารถร่วมกันลงทุนได้เพื่ออนาคตที่สร้างสรรค์ได้ ?  ไม่ใช่เป็นการจัดการความรู้แนวระดมสมองคุณภาพต่ำแต่บ้าเคลมแบบที่เราพบเจอกันบ่อยๆ ข่าวร้ายคือ โดราเอมอนไม่มีเครื่องที่ว่านี้ ข่าวดีคือ ผมพึ่งกลับมาจาก Swiss และได้เข้าร่วมกับกระบวนการที่ทำให้พบว่าเครื่องที่ว่านั้นมีอยู่จริงๆ เดินเครื่องมาสิบกว่าปีแล้ว ภาพด้านบนคือสิ่งที่เรียกว่า IdeaMachine ซึ่งอธิบายกระบวนการ IdeaFactory ซึ่งมีบริษัทที่ Switzerland ชื่อ BrainStore เป็นผู้คิดขึ้นและเดินเครื่องเปิดบริการจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรมจากคนหมู่มาก ซึ่งมีลูกค้ามากมายในหลายลักษณะงาน ตั้งแต่บริษัทอย่าง BMW ไปจนถึงองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศเช่น Swiss Agency for Development and […]

Read more "IdeaFactory เครื่องสร้างนวัตกรรมจากคนหมู่มาก (Swiss made!)"