ไต้หวัน: SE -นวัตกรรมเพื่อสังคม

เมื่อประมาณสองอาทิตย์ที่แล้ว ได้ไปประชุมการให้รางวัลนวัตกรรมเพื่อสังคมแห่งเอเชียแฟซิฟิคที่รัฐบาลไต้หวันเป็นผู้สนับสนุน ในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาไต้หวันเดินงานเชิงนวัตกรรมเพื่อสังคมและกิจการเพื่อสังคมไปอย่างค่อนข้างเร็ว  ผมยังจำได้ว่าเมื่อสามปีที่แล้วตอนไปประชุมด้วยใหม่ๆทุกอย่างยังเพิ่งเริ่มต้น ที่น่าสนในมีหลายประเด็น เช่น  – มีการจัดกลไกสนับสนุนอย่างเป็นระบบ การให้การยอมรับและการสนับสนุนโดยรัฐ มีกองทุนของเอกชนหลายแห่งมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ  บริษัทบางแห่งเช่น KPMG ตั้งหน่วยด้านนี้ที่ไปทำงานกับรัฐเพื่อทั้งปรึกษาและจัดการให้เกิดผล  – ประเด็นกิจการเพื่อสังคมนั้นเขาเน้นเชื่อมโยงกับประเด็นนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่มีเป้าหมายชัดเจน เช่น การแก้ปัญหาสังคมสูงอายุ เรื่องการค้าที่เป็นธรรม (fair trade) หรือ การฟื้นฟูเมืองโดยการใช้วัฒนธรรมและสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น กล่าวคือไม่ได้พูดแค่เรื่อง SE แต่พยายามโยงในฐานะเครื่องมือนวัตกรรมที่เอาไปแก้ปัญหาสังคม ซึ่งก็คล้ายกับแนวทางของ NIA ในประเทศไทยที่น่าจะเชื่อมโยงเรียนรู้กับเขาได้    – ที่เด็ดมากๆคือ ส.ส. หัวใหม่จำนวนหนึ่งจากหลายพรรคได้ร่วมกันตั้งเป็นกลุ่มงาน อาจจะคล้ายๆกรรมาธิการ ในประเด็น “นวัตกรรมเพื่อสังคม (social innovation)” อย่างเป็นทางการด้วย เพื่อทำความเข้าใจปัญหา โอกาส และผลักดันนโยบายโดยใช้กลไกสภาผู้แทนมาเป็นจุดคานงัดสำคัญ ส.ส. คนสำคัญที่รับผิดชอบเรื่องนี้คือ Karen Yu ที่อยู่ในรูปคนที่สองด้านล่างจากซ้าย ซึ่งเขาเคยทำงานเรื่อง Fair Trade และนวัตกรรมเพื่อสังคมมายาวนานก่อนจะมาเป็น ส.ส. เขาว่าถ้า ส.ส. […]

Read more "ไต้หวัน: SE -นวัตกรรมเพื่อสังคม"

Thai-Japan Social Innovation Link

🌸ความร่วมมือเชื่อมนวัตกรรมเพื่อสังคม/SE ไทย-ญี่ปุ่น🌸 ChangeFusion, AVPN, Japan Foundation Asia Center ร่วมกันดำเนินโครงการ Social Innovation Link ที่พยายามเชื่อมโยงผู้สร้างนวัตกรรมทางสังคมในเอเชียที่สามารถแเลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขยายผลทางสังคมได้ (read more)

Read more "Thai-Japan Social Innovation Link"

อย่าให้รางวัลมาตัดสินความเป็นผู้ประกอบการของคุณ

หลายคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับการได้หรือไม่ได้รางวัลที่ เกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ  ไม่ว่าจะเป็น SME ตีแตก เถ้าแก่น้อย หรือจะเป็นรางวัลเพื่อกิจการเพื่อสังคมต่างๆ   คนที่ได้ก็ดีใจภูมิใจกันไป บางคนได้รางวัลแล้วเหลิง ตั้งตนเป็นกูรู หรือกลายเป็นพวกติดรางวัลไปก็มี  แต่คนที่ไม่ได้บางคนก็เสียใจเพราะใช้เวลาเตรียมการไปเยอะ แล้วหลายครั้งที่ไม่ได้รางวัลอย่างที่หวังไว้ก็กลายเป็นการเสียความมั่นใจ ของผู้ประกอบการบางคนไป  บางคนก็บ่น เซ็ง โกรธ เบื่อ โบ้ยตั้งแต่คนจัดรางวัล กรรมการ หรือตัวเอง  กลายเป็นชีช้ำ หรือออกแนวมองโลกในแง่ร้ายแล้วติดกัดจิกกิจกรรมในลักษณะนี้ไปก็มี ตัวผมเองในฐานะผู้ประกอบการคนหนึ่งซึ่งก็ชวดรางวัลต่างๆมาอย่างต่อเนื่องเช่น กัน (เกิดมาเพิ่งเคยได้รางวัลที่เอามาทำงานได้ซัก 2 รางวัลเล็กๆเท่านั้นเอง) แต่การที่ผมทำงานในองค์กรที่เน้นร่วมลงทุนสนับสนุนผู้ประกอบการหรือจัด โปรแกรมรางวัลบ้าง  ผมก็มีสิ่งที่อยากฝากให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเรื่องรางวัลดังต่อไปนี้ รางวัลใดๆไม่ได้บอกว่าเรามีคุณค่าหรือไม่  แค่บอกว่าคนอื่นเขามองเราอย่างไร อย่าสับสนระหว่างรางวัล และความสำเร็จ อย่ายอมให้รางวัลต่างๆมาแย่งเวลาเราไปจนงานหลักเราหดหรือตกไป พยายามขอข้อคิดเห็นของกรรมการ ว่าเราขาดตกอะไรไป แล้วมาปรับปรุง ต้องคิดใช้รางวัลในเชิงรุก เอามาใช้ให้มากกว่าแค่ตัวรางวัล

Read more "อย่าให้รางวัลมาตัดสินความเป็นผู้ประกอบการของคุณ"

สมเด็จย่า ผู้บุกเบิกกิจการเพื่อสังคมในไทย

เมื่อวานเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จย่า (18 ก.ค.) ผมเชื่อว่าท่านเป็นผู้บุกเบิกงานนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย  ท่านสามารถมองเรื่องการปัญหาปลูกฝิ่นยาเสพย์ติดในพื้นที่ชาวเขาซึ่งตอนนั้นรัฐก็จะเน้นการปราบปราม มาเป็นการเห็นว่าปัญหานี้มีรากมาจากปัญหาเศรษฐกิจจึงพัฒนาโครงการดอยตุงขึ้นเพื่อส่งเสริมพืชเศรษฐกิจเมืองหนาวสร้างรายได้ ความมั่นคง และการจัดการตัวเองของชาวเขา และเชื่อมโยงสู่ตลาด ท่านเป็นผู้นำกาแฟอาราบิกาและพืชอื่นๆเข้าไปปลูก จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับโดยสหประชาชาติ กลายมาเป็นกิจการเพื่อสังคม “ดอยตุง” ภายใต้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงที่เรารู้จักกันดีในทุกวันนี้ “ยอดดอยที่เคยหัวโล้นด้วยการถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่น จึงได้กลับกลายมาเป็นดอยที่เต็มไปด้วยป่าไม้ตามเดิม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับขนานนามว่า สมเด็จย่า จากชาวไทยบนพื้นราบ หรือ แม่ฟ้าหลวง จากชาวไทยภูเขา” (Wikipedia) แนวทางการพัฒนาของท่านยังต่อยอดมาถึงผู้บริหารยุคปัจจุบันที่ทำให้ดอยตุงกลายเป็นกิจการที่สร้างโอกาสให้ชุมชนทั้งจากการขายกาแฟ แมคคาเดเมีย และสินค้าแฟชั่นสไตล์ชนเผ่า วันหนึ่งผมเชื่อว่า “ดอยตุง” จะมาสาขาไปทั่วโลก และสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยลุกขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม ตามแนวคิด วิธีก้าวเดิน ของสมเด็จย่าผู้มีความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาความเป็นอยู่ของคนทั่วไปจากการที่ท่านก็ทรงเป็นลูกสาวช่างทอง จากความเข้าใจหัวอกและสภาพความเป็นจริงนี้ ประกอบกับการลงพื้นที่อย่างหนัก ท่านจึงสามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมดังกล่าวได้ และในฐานะที่ท่านทรงเป็นพระมารดาของในหลวงอันเป็นที่รักยิ่งของชาวสยาม ผมมั่นใจว่าท่านย่อมวางรากฐานวิธีคิดและการแก้ปํญหาสังคมอย่างยั่งยืนให้กับในหลวง ซึ่งอาจเป็นต้นทางหนึ่งไปสู่แนวทางการพัฒนาที่เน้น “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ของในหลวง อาจถึงเวลาที่คนไทยจะระลึกถึงท่านในฐานะแรงบันดาลใจให้กับผู้ต้องการจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น กิจการเพื่อสังคมไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนไทย  สมเด็จย่าได้ร่วมริเริ่มแนวทางนี้มาหลายสิบปีแล้ว แต่อนาคตของการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ผู้คนพึ่งตนเองได้ ต่อเชื่อมกับเศรษฐกิจยุคใหม่ได้บนฐานทรัพยากรและวัฒนธรรมของตน ขึ้นอยู่กับผู้คนในยุคเรา วิกิพีเดียเรื่องสมเด็จย่า

Read more "สมเด็จย่า ผู้บุกเบิกกิจการเพื่อสังคมในไทย"

Oxfam GB & financial sustainability

Oxfam GB’s charity shops trading income in 2012 was 89.9 million GBP from ~700 shops, regular giving 54.3 million GBP from ~425,348 people. If all institutional donors stop their funding, Oxfam will somehow survive. This is important for sustainability of the mission and organization. This is something we should learn. ในปี 2012 Oxfam GB มีรายได้จากร้านบริจาคของมือสอง […]

Read more "Oxfam GB & financial sustainability"

พื้นที่สร้างสรรค์ร่วมเพื่อสังคม The Hub, Zurich เน้นทำ ไม่ระแวง

ตอนที่ไปประชุมที่ Zurich กับ ResponsAbilityได้มีโอกาสไปร่วมงานของ The Hub ของชุมชน Zurich เลยได้ข้อคิดบางอย่างกลับมาด้วย The Hub คือพื้นที่ทำงาน พื้นที่ชุมชนทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ของผู้คนที่พยายามจะสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมๆก็คือพื้นที่ทำงานร่วมกันของคนในวงการนวัตกรรมเพื่อสังคม  ซึ่งเป็นลักษณะแฟรนไชน์มีนับสิบสาขาทั่วโลกส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและสหรัฐ ที่เอเชียก็กำลังเริ่มสร้างอยู่บ้าง ความเด็ดของ The Hub ก็คือมันกลายเป็นเครือข่ายของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สังคมในทุกๆวงการ ทำให้เกิดความร่วมมือ เกิดธุรกิจเพื่อสังคม เกิดโครงการด้านสิ่งแวดล้อม และอีกมากมายไปทั่วโลก แต่ก็ยังคงความเป็นกันเองและเป็นชุมชนอยู่ (ลองไปดูรายละเอียดของ The Hub ได้ที่นี่) ผมเองก็พยายามจะนำ model แบบนี้มาทำในประเทศไทย ได้คุยกับสาขาแม่ที่ลอนดอนหลายรอบแล้ว เนื่องจากเราเองก็เริ่มมีชุมชนแนวๆนี้อยู่บ้างแล้ว แต่ก็ยังติดเรื่องการวางแผน และค่าเฟรนไชน์อยู่ ตอนแรกเลยว่าจะทำอะไรคล้ายๆกันไปก่อนแล้วค่อยว่ากันอีกทีเรื่องเชื่อมโยงกับ The Hub  แต่พอได้ร่วมงานที่ชุมชน The Hub ของเมืองซูริค ซึ่งกำลังจะเริ่มสร้าง The Hub แล้วชวนเครือข่ายมาช่วยกันคิดว่าจะออกแบบอย่างไร จะใช้พื้นที่อย่างไร มีใครจะมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียอะไรเด็ดๆบ้าง ทำให้พบว่าบทเรียนสำคัญคือต้องสร้างชุมชนที่มีบทบาทร่วมกันขึ้นมาก่อน แล้วค่อยสร้างพื้นที่มารองรับชุมชนนั้นๆ (web […]

Read more "พื้นที่สร้างสรรค์ร่วมเพื่อสังคม The Hub, Zurich เน้นทำ ไม่ระแวง"

เหลียวมองนักการเงินสวิสฯ บทเรียนการลงทุนเพื่อสังคมและโลก

นักการเงินกับการพัฒนาสังคมเป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะห่างไกลกันคนละขั้ว แต่หากเรามองไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและยาวนานกับประเทศไทย เราอาจจะเริ่มเห็นบทบาทของนักการเงินที่จะเป็นคานงัดสำคัญที่อาจจะพลิกพื้นสังคมให้พ้นไปจากวิกฤตครั้งนี้ได้ ประเทศสวิสฯนอกจากจะมีชื่อเสียงเกี่ยวกับภาคการเงินแล้ว ยังเป็นประเทศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ชีวิตในช่วงการเรียนรู้และพัฒนาความคิดของพระองค์ องคมนตรีท่านหนึ่งเคยเล่าว่าที่มาของโครงการสารานุกรมสำหรับเยาวชนนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะความประทับใจของระบบห้องสมุดและสารานุกรมในประเทศสวิสเซอร์แลนด์จึงดำริว่าเด็กไทยเองก็ควรมีโอกาสเข้าถึงความรู้เช่นนั้นบ้าง นอกจากนั้นแนวคิดเรื่องระบบสหกรณ์ที่พระองค์ทรงนำมาเน้นหนักให้เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ในประเทศสวิสฯระบบสหกรณ์มีความแข็งแรงมาก โดยเฉพาะในภาคการเกษตรหรือแม้ภาคการค้าปลีกเช่นห้างสรรพสินค้านั้นก็ล้วนมีสหกรณ์เป็นธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งล้วนเป็นธุรกิจที่เต็มไปด้วยศักยภาพพร้อมๆกับความล้ำสมัยทางเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้รายได้มหาศาลที่เกิดจากการพัฒนาภาคเกษตรและการค้าปลีก จึงตกอยู่กับเกษตกรและประชาชนทั่วไปที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ เป็นที่น่าเสียดายที่ภาคสหกรณ์ในประเทศไทยยังไม่สามารถขยายตัวได้ดังพระราชดำริ ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในประเทศไทยส่วนหนึ่งก็เกิดจากความล้มเหลวที่จะใช้ระบบสหกรณ์เป็นเครื่องมือที่นำในการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเห็นได้ว่าประเทศสวิสเซอร์แลนด์อาจมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำแนวคิดสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้ามาสู่ประเทศไทย อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังมีปรากฏการณ์ใหม่ๆของสวิสที่ประเทศไทยสามารถเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะบทบาทของภาคตลาดทุนต่อการพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อม สวิสฯเป็นประเทศที่มีภาคการเงินที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่ามีศักยภาพ มีเสถียรภาพ น่าเชื่อถือ และมีความสำคัญระดับโลก แม้ในช่วงวิกฤตการเงินโลกที่ผ่านมา ประเทศสวิสก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และในภาคการเงินนี้เองก็มีนวัตกรรมการเงินการลงทุนเพื่อสังคมระดับโลกที่น่าเรียนรู้อย่างมากสำหรับนักการเงินและนักลงทุนไทย การเงินการลงทุนเพื่อสังคมในสวิสฯอาจจะแบ่งได้เป็นสองส่วนสำคัญ ส่วนแรกคือสิ่งที่เรียกว่าการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Investment) ซึ่งเรียกสั้นๆว่า SRI และส่วนที่สองก็คือการลงทุนโดยตรงในกิจการที่สร้างมูลค่าเพิ่มต่อสังคมสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น การลงทุนในกิจการเพื่อสังคม หรือโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่สร้างรายได้ ส่วนที่สองนี้มักจะเรียกว่า Impact Investment ซึ่งจากการประมาณการณ์ในปี 2009 พบว่าทั้งสองส่วนนี้มีมูลค่ารวมถึงสามหมื่นสี่พันล้านสวิสฟรัง (34 Billion CF) หรือราวหนึ่งแสนล้านบาท ในส่วน SRI นั้นมักจะลงทุนในหุ้น พันธบัตร และสินทรัพย์ต่างๆของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกที่ผ่านเกณฑ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อมหรือที่เรียกว่า CSR (Corporate Social Responsibility) […]

Read more "เหลียวมองนักการเงินสวิสฯ บทเรียนการลงทุนเพื่อสังคมและโลก"

อังกฤษและกิจการเพื่อสังคม; บทเรียนสำหรับเมืองไทย #1

ผมเพิ่งกลับมาจากสหราชอาณาจักร  เนื่องจากได้ไปร่วมการประชุมองค์กรผู้ผลักดันงานด้านกิจการเพื่อสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเชีย และไทย พร้อมๆกันนี้ก็มีโอกาสไปศึกษาดูงานในสหราชอาณาจักรในประเด็นกิจการเพื่อสังคมอีกด้วย   งานนี้เป็นกิจกรรมที่ริเริ่ม จัดการ และสนับสนุนโดย British Council ซึ่งมีหน้าที่หลักในการสร้างความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรมที่ดีระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศอื่น (ไม่ใช่เพียงที่เรียนภาษาอังกฤษ)  เลยได้สรุปไว้เผื่ออาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นที่อาจสนใจบ้าง 1. บทบาทของรัฐ และเทคนิควิธีการ แม้สหราชอาณาจักรจะมีกิจการเพื่อสังคมที่หลากหลายอยู่มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักยอมรับในสังคมวงกว้างอย่างในปัจจุบัน  จากการที่ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับองค์กรต่างๆที่มีบทบาทสำคัญในวงการกิจการเพื่อสังคมในสหราชอาณาจักร ก็พอจะสรุปความได้ว่าบทบาทของรัฐนั้นสำคัญอย่างมาก ในการยกระดับประเด็นนี้ขึ้นมากลายเป็นประเด็นระดับชาติ จนสามารถขับเคลื่อนความสนใจและทรัพยากรจำนวนมากมาผลักดันจนทำให้กิจการเพื่อสังคมมีมาถึงราว 60,000 องค์กร และยังเกิดผลทางเศรษฐกิจได้กว่า 2 หมื่น 7 พันล้านปอนด์อีกด้วย หลักการสำคัญที่ทำให้รัฐบาลให้ความสนใจในประเด็นกิจการเพื่อสังคมก็คือการมองเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาและพัฒนาโอกาสทางสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพในรูปแบบที่มีความยั่งยืนทางการเงิน สามารถขยายผลได้ไม่สิ้นสุด ซึ่งต่างกับการสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมทั่วไปซึ่งมักจะจบลงเมื่อไม่สามารถระดมทุนให้เปล่าได้เมื่อหมดโครงการ  อีกทั้งยังเป็นการใช้ระบบเสรีนิยมทางเศรษฐกิจมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เป็นการพัฒนาที่ดึงเอาภาคส่วนต่างๆที่ปกติจะถูกทอดทิ้งจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจให้มาร่วมมีส่วนร่วม  เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส คนยากจน ผู้พิการ และคนจรจัดเป็นต้น   โดยทั้งหมดทั้งสิ้นขึ้นกับความสามารถของเอกชนที่จะใช้ความเป็นผู้ประกอบการมาพัฒนาโอกาสทางสังคมให้เกิดผลได้อย่างยั่งยืน  บทบาทของภาครัฐจึงเป็นการสนับสนุนในลักษณะการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการประกอบการเพื่อสังคมผ่านกิจการต่างๆได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ เดิมทีเดียวงานด้านกิจการเพื่อสังคมนั้นอยู่ในกระทรวงพาณิชย์ฯ  แต่ได้มีการปรับมาไว้ภายใต้สำนักงานภาคส่วนที่ 3 (Office of the […]

Read more "อังกฤษและกิจการเพื่อสังคม; บทเรียนสำหรับเมืองไทย #1"

Humility, sincerity and social enterprise finance

For those working around money, their ego must be always in-checked and emptied. World-class financial skills are useless without absolute humility and sincerity, especially to the emerging social enterprises we are suppose to provide them with access to capital. Without humility, there will be no respect to our clients, without respect there will be no […]

Read more "Humility, sincerity and social enterprise finance"

ASEAN E-MEDIA STARTUPS COMPETITION LAUNCHED!

APPLICATION DEADLINE: 15 Feb 09SEACEM, ChangeFusion and Freevoice are proud to accept applications for “ASEAN E-Media Startups Competition” with the goal of identifying talented e-media startups in ASEAN that innovatively bring independent news & views with financial sustainability in order to significantly enhance freedom of expression, openness and political & economic liberty in the region. […]

Read more "ASEAN E-MEDIA STARTUPS COMPETITION LAUNCHED!"

Bangkok’s young social entrepreneurs JAM!

หากใครอยากเห็นองค์กรนวัตกรรมแบบใหม่ๆ ที่ก้าวพ้นขั้วตรงข้ามแห่งธุรกิจและNGOไปได้นั้น มีเรื่องน่าสนใจดังนี้ครับ เมื่อไม่นานมานี้ มีการจัดงานซึ่งนำผู้ประกอบการเพื่อสังคมรุ่นใหม่ (young social entrepreneurs) ของไทยที่ TRN Institute พยายามสนับสนุนอยูู่ (โดยเฉพาะในวงด้าน Internet-based social enterprises ตั้งแต่กลุ่มทำเว็บให้องค์กรด้านสังคม ทำ podcast ในประเด็นด้านสังคม ทำ e-commerce ให้ชาวบ้าน ฯลฯ) พวกผู้ประกอบการรุ่นใหม่ดังกล่าวนี้ได้จัดกิจกรรม Mini-boot camp ร่วมกับนักศึกษาจากสถาบัน KaosPilot ซึ่งคล้ายๆเป็น MBA ของคนที่ต้องการจะตั้งธุรกิจใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรมทางสังคมจากยุโรป นอกจากนั้นก็ยังมีขาแจมอีกมาก เช่น bact’ และนักทำหนังสั้นจากอังกฤษ ฯลฯ งานที่ว่าจัดขึ้นโดย TRN Institute ที่ The World Bank Bangkok โดยความร่วมมืออย่างดีของ the world bank youth club งานนี้ทำให้คนที่อยากสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมแต่ต้องอยู่ได้อย่างยั่งยืนได้โดยการสร้างรายได้นั้นได้เจอกัน ได้แลกเปลี่ยนไอเดียบรรเจิดมากมาย และได้แลกเปลี่ยนความคิดที่แตกต่างข้ามโลก (East […]

Read more "Bangkok’s young social entrepreneurs JAM!"