ไต้หวัน: SE -นวัตกรรมเพื่อสังคม
เมื่อประมาณสองอาทิตย์ที่แล้ว ได้ไปประชุมการให้รางวัลนวัตกรรมเพื่อสังคมแห่งเอเชียแฟซิฟิคที่รัฐบาลไต้หวันเป็นผู้สนับสนุน ในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาไต้หวันเดินงานเชิงนวัตกรรมเพื่อสังคมและกิจการเพื่อสังคมไปอย่างค่อนข้างเร็ว ผมยังจำได้ว่าเมื่อสามปีที่แล้วตอนไปประชุมด้วยใหม่ๆทุกอย่างยังเพิ่งเริ่มต้น ที่น่าสนในมีหลายประเด็น เช่น – มีการจัดกลไกสนับสนุนอย่างเป็นระบบ การให้การยอมรับและการสนับสนุนโดยรัฐ มีกองทุนของเอกชนหลายแห่งมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัทบางแห่งเช่น KPMG ตั้งหน่วยด้านนี้ที่ไปทำงานกับรัฐเพื่อทั้งปรึกษาและจัดการให้เกิดผล – ประเด็นกิจการเพื่อสังคมนั้นเขาเน้นเชื่อมโยงกับประเด็นนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่มีเป้าหมายชัดเจน เช่น การแก้ปัญหาสังคมสูงอายุ เรื่องการค้าที่เป็นธรรม (fair trade) หรือ การฟื้นฟูเมืองโดยการใช้วัฒนธรรมและสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น กล่าวคือไม่ได้พูดแค่เรื่อง SE แต่พยายามโยงในฐานะเครื่องมือนวัตกรรมที่เอาไปแก้ปัญหาสังคม ซึ่งก็คล้ายกับแนวทางของ NIA ในประเทศไทยที่น่าจะเชื่อมโยงเรียนรู้กับเขาได้ – ที่เด็ดมากๆคือ ส.ส. หัวใหม่จำนวนหนึ่งจากหลายพรรคได้ร่วมกันตั้งเป็นกลุ่มงาน อาจจะคล้ายๆกรรมาธิการ ในประเด็น “นวัตกรรมเพื่อสังคม (social innovation)” อย่างเป็นทางการด้วย เพื่อทำความเข้าใจปัญหา โอกาส และผลักดันนโยบายโดยใช้กลไกสภาผู้แทนมาเป็นจุดคานงัดสำคัญ ส.ส. คนสำคัญที่รับผิดชอบเรื่องนี้คือ Karen Yu ที่อยู่ในรูปคนที่สองด้านล่างจากซ้าย ซึ่งเขาเคยทำงานเรื่อง Fair Trade และนวัตกรรมเพื่อสังคมมายาวนานก่อนจะมาเป็น ส.ส. เขาว่าถ้า ส.ส. […]
Read more "ไต้หวัน: SE -นวัตกรรมเพื่อสังคม"