☠️BANGKOK GHOST GATES☠️

ใครว่า กทม ถนนโล่งไม่อันตราย มาดูแผนที่ประตูวิญญาณ อุบัติเหตุและความตาย (สีแดง) บนท้องถนนในกรุงเทพช่วงสงกรานต์ตลอดสามปีที่ผ่านมา ระมัดระวังจุดปีศาจร้ายดูดวิญญาณด้วยจ้า เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เข้าไปท่องโลกประตูวิญญาณในพื้นที่ทางผ่านเพื่อศึกษาเส้นทางได้ที่ https://api.mapbox.com/styles/v1/keng/cjudrsg0r2bwj1frz68h4va5i.html?title=true&access_token=pk.eyJ1Ijoia2VuZyIsImEiOiJialJOeHZZIn0.FhsKOrrXDsZ5lyggghMfQw มีใครอยากมาทำการลดลองจัดการ opendata เพื่อลดอุบัติเหตุและความตายบอกด้วยนะ

Read more "☠️BANGKOK GHOST GATES☠️"

X-Japan นำ Hide กลับมาด้วย hologram

เช้านี้ผมตกใจมาก เพราะนั่งอ่าน blog ของ Guy Kawasaki อยู่ดีๆ เขาพูดถึงเทคโนโลยีโอโลแกรม ที่ beam ภาพสามมิติของคนขึ้นมาในที่ประชุม คล้ายๆใน Star-Wars ก็เลยเข้าไปในเว็บเจ้าของเทคโนโลยี hologram presentation ที่ว่า ชื่อ Musion อยู่ที่อังกฤษ เมื่อเข้าไปแล้วก็งงเลย เพราะสุดยอด Rock band ในดวงใจ X-Japan ก็ใช้เทคโนโลยีนี้ beam Hide มาเล่น Guitar กลางเวทีแบบ 3-D ใน concert รวมกันครั้งแรกรอบสิบปีของ X-japan ในเพลง Art of Life ตอนแรกค่อยๆมาแบบ monochrome เหมือน Star Wars แล้วก็ค่อยๆกลายเป็นสีเหมือนคนจริงๆ แล้วก็ยังมีสลับเป็น Pixel แตกๆอีกด้วย http://www.musion.co.uk/X_Japan_Hide_hologram.html เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้คงค่อยๆเปลี่ยนโลกของการประชุมต่างๆหรือแม้แต่ concert ไปเลยในอนาคต ซึ่งอาจจะทำให้คนเดินทางไปประชุมต่างๆน้อยลงได้เมื่อราคาถูกลงเรื่อยๆ […]

Read more "X-Japan นำ Hide กลับมาด้วย hologram"

foosci.com: เว็บ social network ต้านมาลาเรีย

ไปอ่านเว็บรวมข่าวและเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ของไทย foosci.com เจอบทความสุดยอดครับ อยากให้ web master ไทยคิดอย่างงี้บ้าง และรู้สึกดีที่มีคนไทยอย่าง foosci ที่อุตส่าห์แปลบทความอย่างงี้ให้บนเว็บครับ เจ้าของ soccer.net คนแรกที่ขายเว็บนี้ให้กับ ESPN ไปในราคา 40 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อตอนอายุ 17 ปีได้เปลี่ยนความสนใจของตัวเองมาสร้างเว็บ social network เพื่อต่อสู้กับมาลาเลียในอาฟริกาซึ่งสามารถนำไปสู่การลงทุนตรงกับนักวิจัยใน Africa ได้ อ่านต่อ http://foosci.com/node/61

Read more "foosci.com: เว็บ social network ต้านมาลาเรีย"

6 บทเรียนจาก Mozilla ผู้พัฒนา Firefox!

Mozilla เป็นองค์กรที่เป็นผู้พัฒนา Firefox ซึ่งมีผู้โหลดไปใช้กว่า 500 ล้านครั้ง มีส่วนแบ่งตลาด Browser อยู่สิบกว่าเปอร์เซ็นต์และเกิดจากการทำตลาดของกลุ่มผู้ใช้เองเป็นหลัก ผมเชื่อว่า Firefox ดีกว่า Internet Explorer ของ Microsoft หลายเท่า แต่ firefox เป็น Open Source ซึ่งมี code ที่เปิดและทุกๆคนสามารถเข้ามาร่วมพัฒนาได้ เป็นสิ่งแรกที่ทำลายการผูกขาดของ Microsoft ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มหัศจรรย์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเป้าหมายขององค์กรที่ต้องการจะพลักดันให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่เปิดและเสรี Mitchell Baker ประธาน Mozilla ได้ไปพูดไว้ที่ Stanford Technology Ventures Program เกี่ยวกับประวัติของ Mozilla project ตั้งแต่สมัยยังอยู่กับ Netscape ไป AOL จนมาถึงปัจจุบัน และได้สรุปบทเรียนสำคัญๆไว้อย่างน่าสนใจ ผมเลยถือโอกาสสรุป (อีกแล้ว) มาตามด้านล่างครับ อาจจะไม่ครบทั้งหมด แต่ก็คงพอใช้ได้ 🙂 (ไม่ใช่รูปคนข้างๆนี้นะครับ รูปข้างๆเป็นผู้ใช้ที่ร่วม […]

Read more "6 บทเรียนจาก Mozilla ผู้พัฒนา Firefox!"

9 เคล็ดวิชานวัตกรรมของ Google โดย Marissa Mayer!

Marissa Mayer เป็น VP ฝ่าย Search Product และ User Experience ของ Google และชักนำคนเก่งๆมาทำงานที่ Google อีกมากมาย เมื่อวานได้ฟัง podcast ของเธอที่ Stanford Technology Venture Program’s http://edcorner.stanford.edu/authorMaterialInfo.html?mid=1554 เลยได้ข้อสรุปสั้นๆมาเก้าข้อ 1. ไอเดียมาจากทุกที่ทุกทาง จากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน จาก users และทุกๆคน สำคัญคือต้องจับไอเดียมาเข้าระบบที่ทำให้ไอเดียที่ดีได้สุดค่อยๆขึ้นไปสู่สุดยอดได้ผ่านการแข่งขัน การสนับสนุน และข้อมูล 2. แบ่งปันทุกๆอย่าง ต้องทำให้คนในองค์กรแชร์ทุกความคิด ต้องให้แต่ละคนก้าวข้ามความคับแคบเกี่ยวกับเรื่อง credit ฯลฯ ต้องทำให้องค์กรให้ความสำคัญกับคนที่ก่อให้เกิดไอเดียเยอะๆดีๆโดยไม่มาคำนึงมากเกินไปว่าไอเดียไหนของใคร 3. จ้างคนที่เยี่ยมที่สุด ไม่ใช่แค่คนฉลาด (hire not just the best but the most brilliant) การทำงานกับคนที่เยี่ยมย่อมทำให้เราได้เรียนรู้ และลดความจำเป็นเกี่ยวกับกฏระเบียบต่างๆ […]

Read more "9 เคล็ดวิชานวัตกรรมของ Google โดย Marissa Mayer!"

ถอดรหัสสร้างนวัตกรรมสไตล์ Google

นิตยสาร Harvard Business Review ฉบับ April 08 มีบทความที่ชื่อ Reverse Engineering Google’s Innovation Machine ผมก็เลยคิดว่าเอามาสรุปให้เพื่อนๆที่สนใจเรื่องนวัตกรรม และการสร้างธุรกิจแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะในหมู่นักประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่และ TRN ซึ่งร่วมหัวจมท้ายด้วยอยู่ก็น่าจะมีประโยชน์บ้าง ผู้เขียนบทความนี้คือ Bala lyer และ Thomas H. Daveport ซึ่งพยายามเลือกแนวการจัดการนวัตกรรมสำคัญๆของ google บางส่วนที่ธุรกิจหรือหน่วยงานอื่นๆน่าจะนำไปประยุกต์ได้ ซึ่งก็ประกอบไปด้วย 1. การจัดการด้วยความใจเย็นอย่างมียุทธศาสตร์ (Strategic patience) เป็นการยอมที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ๆโดยไม่ผูกกับผลสำเร็จระยะสั้นมากเกินไป แต่อดทนรออย่างใจเย็นในการสร้างนวัตกรรมที่หลากหลายซึ่งมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์กับองค์กร ซึ่งจะเกิดผลได้ในระยะกลางหรือยาว  ในกรณีของ google ก็คือการเปิดบริการหรือ product ใหม่ๆตลอดเวลาจาก google labs CEO ของ google ที่ชื่อ Eric Schmidt เองก็เคยกล่าวว่าจะต้องสร้างตลาดของบริการที่มีคนใช้มากๆๆอย่างยั่งยืนก่อน จากนั้นย่อมจะสามารถหาวิธีฉลาดๆในการทำเงินจากบริการนั้นๆได้อย่างแน่นอน แต่เราก็ต้องระลึกว่าที่ google สามารถอดทนรอได้ในลักษณะนี้ ก็ย่อมเป็นเพราะรายได้มหาศาลจากการลงโฆษณานั้นมีมากพอที่จะทดแทนรายจ่ายที่เสียไปกับการพัฒนาบริการใหม่ๆนี้ […]

Read more "ถอดรหัสสร้างนวัตกรรมสไตล์ Google"

การพัฒนากิจการเกมส์เพื่อสังคมไทย

วันนี้ได้คุยในวงกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องการประเมินสถานการณ์เกมส์คอมพิวเตอร์ในสังคมไทย  ก็เลยได้มีโอกาสคิดว่าปีนี้ TRN กับ สสส. และภาคีจะช่วยกันหนุนเสริมเรื่องเกมส์ดีๆอย่างไร ประเด็น: ต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงๆก็คือการพัฒนาองค์กรคนรุ่นใหม่ที่ผลิตเกมส์เพื่อสังคมได้อย่างยั่งยืน  โดยการสร้างเครือข่ายตลาดเกมส์เพื่อสังคมสิ่งแวดล้อม คล้ายๆกลุ่ม serious game developers ในต่างประเทศที่พัฒนาเกมส์เช่น foodforce ที่ให้ผู้เล่นสามารถสวมบทบาทในการปฏิภารกิจต่างๆ เช่นการใช้เฮลิคอปเตอร์ไปส่งอาหารให้คนยากจนในพื้นที่เสี่ยงต่างๆของ World Food Programme และ PeaceMaker ซึ่งให้ผู้เล่นมีโอกาสที่จะพยายามแก้ปัญหาระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความท้าทาย: 1. เมืองไทยมีการส่งเสริม การประกวด เกมส์ต่างๆมากมาย แต่ยังขาดการต่อยอด โดยเฉพาะในกลุ่มที่ชนะการประกวดต่างๆ สุดท้ายก็ไม่สามารถทำอะไรต่อได้ ต้องเข้าไปในบริษัทใหญ่ๆเช่นเดิม ไม่สามารถพัฒนาเกมส์ตามความสนใจได้ 2. การบริโภคเกมส์ของตลาดก็จะเป็นการเน้นเกมส์ต่างประเทศ เช่น เกาหลี และจีน  เกมส์ที่ผลิตเองก็มีปัญหาต่างๆ เช่น เกมส์กล่องก็จะเจอปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ (piracy) เกมส์ออนไลน์ก็ยังไม่ค่อยมีตัวอย่างมากนัก โอกาส: การปรับโมเดลทางธุรกิจของผู้ผลิตเกมส์เพื่อสังคม เพื่อให้สอดคล้องและใช้โอกาสพิเศษด้านสังคมที่ผู้ผลิตเกมส์ปกติไม่มี  โดยสำหรับการพัฒนากิจการเพื่อสังคม (social enterprise) 1. การหาผู้สนใจสนับสนุนการสร้างเกมส์ประเด็นสังคมในลักษณะ wholesale sponsor ซึ่งน่าจะสามารถสร้างตลาดหรือพืิ้นที่เชื่อมโยงผู้สนใจสนับสนุนและผู้ผลิตได้ โดยจะต้องทำในลักษณะที่ […]

Read more "การพัฒนากิจการเกมส์เพื่อสังคมไทย"

การเก็บปัญญาดิจิตอลของไทย ไว้เพื่อคนในอนาคต (และปัจจุบัน)

ช่วงนี้ผมดีใจมากที่ได้กลับมาช่วยริเริ่มงานที่เป็นแนวที่สนใจมาตลอด นั้นก็คือการเก็บและเผยแพร่ปัญญาของคนไทยที่ควรค่าต่อการเก็บไว้ให้คนไทยได้เรียนรู้ในรูปแบบดิจิตอล  ผมเคยคิดตั้งแต่สมัยเรียนว่าอยากจะไปถอดความรู้และเก็บชิ้นงานต่างๆของคนไทยที่สุดยอดแต่อายุมากแล้ว  เพื่อที่ว่าเมื่อคนเหล่านี้ไม่อยู่แล้ว หรือไม่สามารถสื่อสารได้อีกต่อไป คนรุ่นหลังทั้งในตอนนี้และอีกร้อยพันปีข้างหน้าจะสามารถเข้าถึงความคิด ความรู้ และปัญญาเหล่านี้ได้ หากจะแบ่งสารใดๆออกเป็นระดับเรียงจากศักยภาพน้อยไปมาก ก็คือ ข้อมูล  สารสนเทศ  ความรู้ และปัญญา (data, information, knowledge and wisdom) ผมจะสนใจปัญญาเป็นพิเศษ  เพราะเป็นสิ่งที่ไปเหนือความรู้ธรรมดาๆ เกิดจากประสบการณ์และการสะท้อนความเป็นมนุษย์ทั้งในเชิงศาสตร์และศิลป์แล้ว   หรือสำหรับผมอาจจะเรียกว่าเป็นความเห็นทีี่มีคุณภาพ (high quality opinion) ก็ได้ ผมรู้สึกว่าสิ่งนี้สำคัญกว่าข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ เป็นอย่างมาก   เพราะมนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความหมายและมีประโยชน์ต่อโลกก็ต่อเมื่อเขาเกิดปัญญาขึ้นเอง หรือมีโอกาสที่เข้าถึงปัญญาของคนอื่น ที่สามารถมาสะท้อนกับจิตใจ และการมองโลกของตนได้ จนเกิดเป็นการมีปัญญาในมิติต่างๆของคนๆนั้น ปัญญาจะช่วยให้คนมีศีลธรรม จริยธรรม และเป็นคนดีได้โดยตั้งอยู่บนความแข็งแรงของตรรกะและเหตุผล และการเก็บบันทึกปัญญาหรือความเห็นที่มีคุณภาพเหล่านี้  โดยเฉพาะจากคนที่เราเชื่อว่ามีปัญญาที่เกิดจากการทรงความรู้หรือการเข้าใจประเด็นอะไรอย่างลึกซึ้งจึงสำคัญมาก ที่ผ่านมา คนเหล่านี้อาจจะเขียนความรู้ของตนออกมา โดยมีเนื้อหาด้านปัญญาแทรกอยู่บ้าง แต่ก็มักจะมีน้อยรายที่ทำเช่นนี้  หลายครั้งเมื่อคนเหล่านี้เสียชีวิต หลายๆสิ่งที่มีประโยชน์เหล่านี้ก็จะหายไปกับพวกเขา นอกจากนั้น คนไทยไม่ใช่ชนชาติที่อ่านหนังสือเท่าใดนัก  แต่ชอบดู ชอบฟัง ดังนั้นวิธีการบันทึกเป็นวิดีโอและเสียงจึงเป็นแนวทางที่น่าจะทำให้เนื้อหาเหล่านี้เข้าถึงง่ายขึ้นสำหรับผม  ในการถ่ายทำเนื้อหาสั้นๆจากแต่ละท่าน เช่นไม่เกินท่านละ […]

Read more "การเก็บปัญญาดิจิตอลของไทย ไว้เพื่อคนในอนาคต (และปัจจุบัน)"

Bootcamp for Social Startups (Thailand!)

เมื่อวานได้นัดคุยกับเจ้านายเก่าของสหายผู้หนึ่ง   ได้ความว่าเรามีความสนใจตรงกันหนึ่งเรื่อง กล่่าวคือการทำให้คนรุ่นใหม่เข้ามาการประกอบการทางสังคม (social enterprise) ซึ่งก็คือการริเริ่มองค์กรที่มีเป้าหมายในการแก้ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมโดยมีแนวทางที่มีความใหม่ เป็นนวัตกรรม มีประสิทธิภาพวัดผลได้ และยังสามารถสร้างรายได้ให้ยั่งยืนได้ด้วยตัวเองทางใดทางหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องขอเงินแหล่งทุนไปเรื่อยๆ หรือมีความสัมพันธ์ที่พิเศษกับแหล่งทุนเพียงพอที่ทำให้แหล่งทุนต้องใช้บริการอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ตัวอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ทำ E-Commerce ให้ชาวบ้านโดยรายได้ส่วนใหญ่กลับไปที่ชาวบ้าน   ธุรกิจการทำ podcasting ประเด็นทางสังคม  ธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงสถาปัตฯ  หรือแม้แต่การทำภาพยนต์สะท้อนประเด็นทางสังคมแต่สามารถทำให้น่าสนใจ มีคนดู อันนำไปสู่การสร้างรายได้ที่มั่นคงอีกด้วย อย่างไรก็ตามคนรุ่นใหม่ที่คิดไปในแนวทางนี้มีอยู่น้อยมากๆ  จำเป็นที่ต้องเร่งจุดประกาย และหนุนเสริม กระตุ้นให้เกิดขึ้นมากๆ ไม่เช่นนั้นแม้จะสามารถสร้างตลาดทุนสำหรับการประกอบการทางสังคมได้สำเร็จก็อาจจะไม่สามารถหาองค์กรหรือธุรกิจเพื่อสังคมที่มากพอที่จะเกิดประสิทธิภาพในการลงทุนที่มีคุณภาพได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดที่จะทำอะไรคล้ายๆการสร้างบรรยากาศแบบ Silicon Valley Startup Culture แต่เป็นสำหรับผู้ประกอบการทางสังคมขึ้น  คือเป็นโครงสร้างและวัฒนธรรมที่ชื่นชมนวัตกรรมใหม่ ยอมที่จะเสี่ยง ล้มแล้วลุกได้ มี mentor และผู้สนใจให้ความช่วยเหลือ แต่เป็นไปด้วยการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ ฯลฯ (รูปจาก KaosPilot) ทางออกของเรื่องนี้คือแนวคิดที่จะสร้างอะไรคล้ายๆโรงเรียนสอนธุรกิจทางเลือก (alternative business school) ขึ้นมาคล้ายๆเป็นวิทยาลัยการจัดการเพื่อการประกอบการทางสังคม ซึ่งในโลกนี้ใกล้เคียงที่สุดก็คือสิ่งที่เรียกว่า KaosPilot ทีเดนมาร์ค เป็น business school ที่เน้นให้นักศึกษาหรือผู้เข้ากระบวนการเรียนรู้เรื่องการทำธุรกิจแบบใหม่ๆโดยเฉพาะที่เป็นธุรกิจซึ่งเป็นนวัตกรรมทางสังคม และต้องให้ทดลองตั้งธุรกิจจริงๆขึ้นมาด้วยไม่ใช่แค่เรียนจากหนังสือหรือการพูดคุย […]

Read more "Bootcamp for Social Startups (Thailand!)"

IdeaFactory เครื่องสร้างนวัตกรรมจากคนหมู่มาก (Swiss made!)

คุณเคยไปงานประชุมขนาดใหญ่ที่ผู้จัดได้ระดมสมองจากผู้ร่วมงานนับร้อยพันคนไหม ? ซึ่งคุณก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่พอประชุมจบ ข้อสรุปที่ได้จากความเห็นของผู้ร่วมประชุมก็มั่วไปหมด ไอเดียที่เอามาสรุปก็เลือกเอาที่ผู้ใหญ่ในงานชอบ สุดท้ายก็ไม่ค่อยได้อะไร นอกจากผู้จัดสามารถเหมาได้ว่าการประชุมนั้นๆมีข้อสรุปตามที่พวกเขาต้องการได้ ส่วนคุณก็นั่งบื้อๆรู้สึกเซ็งๆ แต่คุณเชื่อไหมว่ามันเป็นไปได้ที่จะระดมสมอง ระดมไอเดียเป็นพันๆ แล้วผ่านกระบวนการคัดสรร หลอมรวม เชื่อมโยงอย่่างเป็นระบบ จนกลายเป็นสุดยอดไอเดียนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาโอกาสในประเด็นที่เราสนใจกันอยู่ได้อย่างน่าอัศจรรย์  เหมือนกระบวนการผลิตของเครื่องจักรในโรงงานทำช็อกโกแล็ตที่รวมเอาวัตถุดิบต่างๆที่แตกต่างและหลากหลายมาผสมผสานกันเป็นช็อคโกแล็ตที่กลมกล่อมหลากรูปแบบและรสชาติอันสุดจะต้านทาน …. (From Charlie and the Chocolate Factory) จะดีไหมถ้ามีเครื่องสร้างนวัตกรรมจากคนหมู่มากอย่างที่ว่า  และในทุกๆสัมมนาหรือการประชุมต่างๆ สามารถดึงเอาความคิดความเห็นความรู้ ที่เกิดจากความเชัี่ยวชาญเฉพาะของแต่ละคนที่ไปงานนั้นๆ แล้วสามารถหลอมรวมกันเป็นไอเดียนวัตกรรมคุณภาพสูงที่เราสามารถร่วมกันลงทุนได้เพื่ออนาคตที่สร้างสรรค์ได้ ?  ไม่ใช่เป็นการจัดการความรู้แนวระดมสมองคุณภาพต่ำแต่บ้าเคลมแบบที่เราพบเจอกันบ่อยๆ ข่าวร้ายคือ โดราเอมอนไม่มีเครื่องที่ว่านี้ ข่าวดีคือ ผมพึ่งกลับมาจาก Swiss และได้เข้าร่วมกับกระบวนการที่ทำให้พบว่าเครื่องที่ว่านั้นมีอยู่จริงๆ เดินเครื่องมาสิบกว่าปีแล้ว ภาพด้านบนคือสิ่งที่เรียกว่า IdeaMachine ซึ่งอธิบายกระบวนการ IdeaFactory ซึ่งมีบริษัทที่ Switzerland ชื่อ BrainStore เป็นผู้คิดขึ้นและเดินเครื่องเปิดบริการจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรมจากคนหมู่มาก ซึ่งมีลูกค้ามากมายในหลายลักษณะงาน ตั้งแต่บริษัทอย่าง BMW ไปจนถึงองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศเช่น Swiss Agency for Development and […]

Read more "IdeaFactory เครื่องสร้างนวัตกรรมจากคนหมู่มาก (Swiss made!)"

Collective Intelligence 101

เมื่อวานไปสอนเรื่อง collective intelligence ให้เด็กเห็นว่าโลกของเน็ตกับโลกของธรรมชาติที่เป็น bottom-up self-organization มันเหมือนกันขนาดไหน โจทย์จริงๆคือถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ต้องฉลาดมากแต่เมื่อรวมกันเป็นพฤติกรรมฉลาดโคตรนั้นจะทำได้อย่างไรโดยไม่ต้องพึ่งผู้มีบารมีหรือพระสยามเทวาธิราช ? | View | Upload your own Load the slides below: collectiveintelligence101.pdf

Read more "Collective Intelligence 101"

คุยกะ Google เรื่อง Gap Minder

วันนี้ได้มีโอกาสกินข้าวเย็นคุยกับเก่งและคนทำงานใน google สองคนที่รับผิดชอบภูมิภาคแถวนี้…  เขาดูง่วงกันพอควรเพราะเห็นว่าเครื่องเพิ่ง landed เมื่อสองชั่วโมงที่แล้ว  คุยไปคุยมาหลายเรื่อง.. แต่ที่สนใจที่สุดคือ gap minder ซึ่งก็เป็น tool ใหม่ที่ google เพิ่งไป acquired มา  เป็นเครื่องมือทำ data visualization ที่ interactive เหมาะกับการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนมาทำใหเข้าใจง่าย  เช่นอัตราการตายเมื่อเทียบกับการเจริญทางเศรษฐกิจระหว่างหลายประเทศ หรือจังหวัด ซึ่งน่าจะเกิดประโยชน์มากกับการสื่อสารเพื่อให้เกิดผลเชิงนโยบาย   ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้ที่ blog เดิมสนใจคลิกอ่านได้ที่นี่เขาว่าตอนนี้ที่ google head office ทางเข้าจะมี gap minder โชว์หราอยู่ คนที่ google ก็เลยรู้เรื่องนี้กันทั่วไป   สิ่งที่น่าสนใจก็คือการนำข้อมูลสำคัญๆ เช่นข้อมูลสุขภาพคนไทยจากกระทรวงสาธารณสุขหรือ สสส. มานำเสนอ แบ่งตามจังหวัด แล้วเอาไปให้ที่ประชุมผู้ว่าดู รับรองว่าเกิดผลสุดๆแน่ เช่นการแข่งขันของแต่ละจังหวัดเรื่องการตายจากเอดส์ หรือแม้แต่ข้อมูลไข้หวัดนก  อย่างไรก็ตามเขาว่าจะ connect ให้เพราะทางทีมที่ทำ gap minder […]

Read more "คุยกะ Google เรื่อง Gap Minder"

Barcamp Bangkok ทำไมถึงสำเร็จ?

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้แวะไปที่ร้าน Indus ที่จัด BarCamp Bangkok ครั้งแรกในภูมิภาคแถวนี้ ไปก็สบายใจๆเพราะเห็นคนน่าเก่าๆที่คุ้นเคยกันดีเดินไปเดินมา ในฐานะ sponsor เล็กๆรายหนึ่งก็เลยมาดูว่าเป็นไง จากนั้น Hunt & Joy และ Keng & 1 ก็บอกว่ามีคนมารวมๆกัน 200 คนในงานนี้ มีมาตั้งแต่คนจากอเมริกามางานนี้โดยเฉพาะ งานนี้มีทั้งคนไทย ฝรั่ง แขก จีน ครบทุกรส  หลักๆก็พูดไทยและอังกฤษ  (อาหารอินเดีย อร่อยมาก) แนวการจัดก็ง่ายๆ มีห้องสี่ห้าห้อง ใครมาก่อนก็มาลงชื่อกับหัวข้อที่จะพูดและเวลา จากนั้นก็สลับกันพูด ตั้งกะเช้ายันเย็น เนื้อหามีตั้งแต่สุดยอดเทคนิคไปจนถึงแนวทางการทำหนัง AV  (Geekship as common denominator) ตลอดงานได้ยินเด็กๆพูดถึงมนุษย์ที่เรารู้จักเช่น อาร์ท กานต์ มาร์ค ลิ่ว กล้า เสมือนหนึ่งว่าเป็นตำนานในวงการใหม่นี้ เลยรู้สึกแอบดีใจไปด้วย ประมาณว่าหากมีระเบิดเกิดขึ้นในงาน  เว็บ 2.0 จริงๆของไทยก็คงจะหายไปซะงั้น เลยมานั่งคิดว่าทำไมงานนี้ถึงสำเร็จ เลยสรุปเอาเองว่าประมาณนี้ […]

Read more "Barcamp Bangkok ทำไมถึงสำเร็จ?"

Health minister to support web2.0 against risky online behavior.

Today I was presenting to the Thai Health Promotion Foundation sub-committee on its next phase of “ICT Plan for Cyber Health”. It was fun to have the Health Minister joining the meeting unofficially. I was first reviewing the situation of Thai cyberspace on risk behavior among youth. The recent survey found many interesting figure such […]

Read more "Health minister to support web2.0 against risky online behavior."