ReadCamp: “รักการอ่าน” ในโลก 2.0 ?

  หลายคนเมื่อได้ยินคำว่า “รักการอ่าน” ก็อาจจะส่ายหัว เบื่อหน่าย แล้วรู้สึกไปว่าเป็นพวกรณรงค์ให้เด็กๆมารักการอ่านแนวกระทรวงฯซึ่งมักไม่ค่อยได้ผลอะไรเท่าใด พวกคนเล่นเว็บหลายๆคนอาจจะรู้สึกต่อต้านด้วยซ้ำเพราะผู้จัดงานและนักวิชาการเกี่ยวกับ “รักการอ่าน” นั้นชอบกล่าวหาว่าอินเทอร์เน็ตทำให้สมาชิกสั้น ทำให้เด็กอ่านหนังสือหนังสือน้อยลง ทำให้ขาดความลึกซึ้งของการอ่านแบบดั้งเดิม แล้วทางออกที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมา “อ่านๆๆๆ” นั้นจะอยู่ที่ไหน คำถามนี้ดูจะไร้คำตอบ และหายไปในสายลมแห่งเทคโนโลยี แต่เมื่อวันที่ 29 พศจิกายนที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ใหม่ของคนรักการอ่าน    เมื่อบรรดาผู้ที่ชื่นชอบการอ่านในโลกออนไลน์ได้รวมตัวกันจัดกิจกรรม “ReadCamp ทุกอย่าง อ่านได้” ขึ้นที่หอศิลป์กรุงเทพฯ  ในงานมีบรรยากาศที่แปลกใหม่พอควรสำหรับวงการนักอ่าน เพราะไม่ได้มีการกำหนดเนื้อหาหรือกำหนดการมาก่อน  ใครอยากมา “อ่าน” อะไรก็เอาหัวข้อที่ตัวเองอยากอ่านให้คนอื่นฟังไปแปะไว้ที่กระจก  แล้วคนมางานคนอื่นๆก็เอาสติกเกอร์กลมๆเล็กๆไปแปะไว้ข้างๆหัวข้อนั้นถือเป็นการโหวต  หัวข้อไหนมีคนโหวตมากก็จะได้รับเชิญไปอยู่ในตารางหน้าห้องที่เตรียมไว้ 3 ห้อง ส่วนคนมาร่วมงานคนไหนอยากฟังเรื่องไหนก็เข้าห้องนั้น ซึ่งเป็นวิธีจัดงานสไตล์ใหม่คล้ายๆงาน BarCamp ในกลุ่มนักเทคโนโลยีสารสนเทศรุ่นใหม่ๆ หัวข้อการอ่านก็หลากหลาย ไม่ได้มีแค่มาอ่านหนังสือให้ฟังเหมือนงานรักการอ่านทั่วๆไป  เพราะมีคนที่เอาหนังสือพิมพ์มาอ่าน  อ่านการ์ตูน อ่านนิทาน อ่านสติ้กเกอร์ท้ายรถ มาอ่านเว็บไซต์ หรือแม้แต่มาอ่าน twitter (บริการออนไลน์คล้ายๆ MSN) นอกจากการอ่านสื่อที่หลากหลาย หัวข้อก็ยิ่งหลากหลาย มีตั้งแต่อ่านสามก็กแบบโรแมนติก  อ่าน paper วิชาการอย่างไรให้สนุก […]

Read more "ReadCamp: “รักการอ่าน” ในโลก 2.0 ?"

โอบาม่าปฏิวัติการระดมเงินหาเสียงเลือกตั้ง

Communication Nation เป็น Blog ของเจ้าของ xplane.com ได้ทำภาพสรุปวิธีที่โอมาบ่าใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือหลักในการรณรงค์หาเสียงแทนที่จะใช้แนวทางเข้าคนรวยๆไม่กี่คนเหมือนกับผู้สมัครคนอื่นๆดังเช่นนางฮิลลาลี่ คลินตัน  ซึ่งการใช้เว็บ 2.0 เป็นเครื่องมือในการระดมการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของประชาชนในการมาช่วยหาเสียงทั้งลงแรง ลงเงิน ลงเพื่อนนี้ทำให้เขาได้รับชัยชนะในการเลือกผู้แทนพรรคเดโมเครตในการลงแข่งในตำแหน่งประธานาธิปดีของสหรัฐในอนาคต โหลด pdf ได้ที่นี่ หากอยากดูเอามันด้านล่างครับ โอบามาคลิป http://youtube.com/watch?v=wKsoXHYICqU คลินตันคลิป http://youtube.com/watch?v=xiHhCDphOkk

Read more "โอบาม่าปฏิวัติการระดมเงินหาเสียงเลือกตั้ง"

dotSUB.com เครื่องมือช่วยกันแปลซับไตเติล

เมื่อวานเห็น http://www.twistimage.com ซึ่งเป็นเว็บเกี่ยวกับ Marketing 2.0 ที่ผมตามๆอยู่ post เรื่อง Social Media in Plain English ของ CommonCraft แล้ววันนี้ก็เห็น bact’ mail มาโดยเอามาจาก blog ที่ http://www.rachanont.com/ เลยรู้สึกว่าโอ.. โลกนี้มันเร็วจัง ที่เยี่ยมกว่านั้นคือ rachanont ได้แนะนำให้ไปช่วยกันแปลคลิปที่ว่าที่ dotSUB.com ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยกันแปลซับไตเติลสไตล์เว็บ 2.0 คือสามารถอับโหลดหรือ mash-up แล้วมาช่วยกันแปล แล้วเอาไปเผยแพร่ต่อได้  (เช่นที่แปะอยู่ด้านบน) ลองคลิกๆดูก็รู้สึกมันทำได้ใช้ง่ายมาก และมีงานภาษาไทยอยู่บ้างที่มีคนช่วยแปลอยู่บนระบบ เชื่อว่าเว็บแอบ (web app) นี้ต้องเป็นประโยชน์มากๆในอนาคตแน่ๆ  🙂

Read more "dotSUB.com เครื่องมือช่วยกันแปลซับไตเติล"

foosci.com: เว็บ social network ต้านมาลาเรีย

ไปอ่านเว็บรวมข่าวและเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ของไทย foosci.com เจอบทความสุดยอดครับ อยากให้ web master ไทยคิดอย่างงี้บ้าง และรู้สึกดีที่มีคนไทยอย่าง foosci ที่อุตส่าห์แปลบทความอย่างงี้ให้บนเว็บครับ เจ้าของ soccer.net คนแรกที่ขายเว็บนี้ให้กับ ESPN ไปในราคา 40 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อตอนอายุ 17 ปีได้เปลี่ยนความสนใจของตัวเองมาสร้างเว็บ social network เพื่อต่อสู้กับมาลาเลียในอาฟริกาซึ่งสามารถนำไปสู่การลงทุนตรงกับนักวิจัยใน Africa ได้ อ่านต่อ http://foosci.com/node/61

Read more "foosci.com: เว็บ social network ต้านมาลาเรีย"

6 บทเรียนจาก Mozilla ผู้พัฒนา Firefox!

Mozilla เป็นองค์กรที่เป็นผู้พัฒนา Firefox ซึ่งมีผู้โหลดไปใช้กว่า 500 ล้านครั้ง มีส่วนแบ่งตลาด Browser อยู่สิบกว่าเปอร์เซ็นต์และเกิดจากการทำตลาดของกลุ่มผู้ใช้เองเป็นหลัก ผมเชื่อว่า Firefox ดีกว่า Internet Explorer ของ Microsoft หลายเท่า แต่ firefox เป็น Open Source ซึ่งมี code ที่เปิดและทุกๆคนสามารถเข้ามาร่วมพัฒนาได้ เป็นสิ่งแรกที่ทำลายการผูกขาดของ Microsoft ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มหัศจรรย์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเป้าหมายขององค์กรที่ต้องการจะพลักดันให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่เปิดและเสรี Mitchell Baker ประธาน Mozilla ได้ไปพูดไว้ที่ Stanford Technology Ventures Program เกี่ยวกับประวัติของ Mozilla project ตั้งแต่สมัยยังอยู่กับ Netscape ไป AOL จนมาถึงปัจจุบัน และได้สรุปบทเรียนสำคัญๆไว้อย่างน่าสนใจ ผมเลยถือโอกาสสรุป (อีกแล้ว) มาตามด้านล่างครับ อาจจะไม่ครบทั้งหมด แต่ก็คงพอใช้ได้ 🙂 (ไม่ใช่รูปคนข้างๆนี้นะครับ รูปข้างๆเป็นผู้ใช้ที่ร่วม […]

Read more "6 บทเรียนจาก Mozilla ผู้พัฒนา Firefox!"

ถอดรหัสสร้างนวัตกรรมสไตล์ Google

นิตยสาร Harvard Business Review ฉบับ April 08 มีบทความที่ชื่อ Reverse Engineering Google’s Innovation Machine ผมก็เลยคิดว่าเอามาสรุปให้เพื่อนๆที่สนใจเรื่องนวัตกรรม และการสร้างธุรกิจแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะในหมู่นักประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่และ TRN ซึ่งร่วมหัวจมท้ายด้วยอยู่ก็น่าจะมีประโยชน์บ้าง ผู้เขียนบทความนี้คือ Bala lyer และ Thomas H. Daveport ซึ่งพยายามเลือกแนวการจัดการนวัตกรรมสำคัญๆของ google บางส่วนที่ธุรกิจหรือหน่วยงานอื่นๆน่าจะนำไปประยุกต์ได้ ซึ่งก็ประกอบไปด้วย 1. การจัดการด้วยความใจเย็นอย่างมียุทธศาสตร์ (Strategic patience) เป็นการยอมที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ๆโดยไม่ผูกกับผลสำเร็จระยะสั้นมากเกินไป แต่อดทนรออย่างใจเย็นในการสร้างนวัตกรรมที่หลากหลายซึ่งมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์กับองค์กร ซึ่งจะเกิดผลได้ในระยะกลางหรือยาว  ในกรณีของ google ก็คือการเปิดบริการหรือ product ใหม่ๆตลอดเวลาจาก google labs CEO ของ google ที่ชื่อ Eric Schmidt เองก็เคยกล่าวว่าจะต้องสร้างตลาดของบริการที่มีคนใช้มากๆๆอย่างยั่งยืนก่อน จากนั้นย่อมจะสามารถหาวิธีฉลาดๆในการทำเงินจากบริการนั้นๆได้อย่างแน่นอน แต่เราก็ต้องระลึกว่าที่ google สามารถอดทนรอได้ในลักษณะนี้ ก็ย่อมเป็นเพราะรายได้มหาศาลจากการลงโฆษณานั้นมีมากพอที่จะทดแทนรายจ่ายที่เสียไปกับการพัฒนาบริการใหม่ๆนี้ […]

Read more "ถอดรหัสสร้างนวัตกรรมสไตล์ Google"

Wish-list ระบบนิเวศเน็ตไทยเพื่อปฏิวัติความรู้

ช่วงนี้ TRN กำลังคิดวางแผนว่าปีนี้จะมีแนวทางการหนุนเสริมเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการแสวงหาและพัฒนาความรู้ที่หลากหลายอย่างไร  อยากชวนคนอื่นคิดด้วยว่าปีนี้เราอยากให้เกิดอะไรขึ้นบ้างในโลกออนไลน์ไทย เบื้องต้นที่ TRN ได้แนวๆคร่าวๆ แบ่งเป็น Ecosystem layers คล้ายๆในหนังสือ the wealth of networks ดังนี้ Physical layer Alternative Public Wifi Network ก็เริ่มมีแนวคิดอย่าง FON ที่น่าจะเริ่มกันได้เลย พยายามให้อะไรคล้ายๆ One Laptop Per Child หรือคล้ายๆกันของ Intel ให้เกิดขึ้นใช้จริงในโรงเรียนไทย Thai Resilient Internet Plan มาช่วยกันวางแผนว่าทำอย่างไรเน็ตไทยถึงจะมีความต้านทาน หรือ resilient กับการแทรกแซงของอำนาจเผด็จการทุกชนิด  เช่นมาดูว่าต้องใช้ท่อไหนต่อไปไหนหากมีกรณีการปฏิวัติในอนาคตและคราวนี้เขาจะปิดเน็ต Meta layer หนุน Thai Wikipedia และชุมชนแลกเปลี่ยนความรู้อื่นๆเช่น วิชาการ.com หรือ gotoknow.org Aggregator engine คล้ายๆ answers.com […]

Read more "Wish-list ระบบนิเวศเน็ตไทยเพื่อปฏิวัติความรู้"

คุยกะ Google เรื่อง Gap Minder

วันนี้ได้มีโอกาสกินข้าวเย็นคุยกับเก่งและคนทำงานใน google สองคนที่รับผิดชอบภูมิภาคแถวนี้…  เขาดูง่วงกันพอควรเพราะเห็นว่าเครื่องเพิ่ง landed เมื่อสองชั่วโมงที่แล้ว  คุยไปคุยมาหลายเรื่อง.. แต่ที่สนใจที่สุดคือ gap minder ซึ่งก็เป็น tool ใหม่ที่ google เพิ่งไป acquired มา  เป็นเครื่องมือทำ data visualization ที่ interactive เหมาะกับการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนมาทำใหเข้าใจง่าย  เช่นอัตราการตายเมื่อเทียบกับการเจริญทางเศรษฐกิจระหว่างหลายประเทศ หรือจังหวัด ซึ่งน่าจะเกิดประโยชน์มากกับการสื่อสารเพื่อให้เกิดผลเชิงนโยบาย   ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้ที่ blog เดิมสนใจคลิกอ่านได้ที่นี่เขาว่าตอนนี้ที่ google head office ทางเข้าจะมี gap minder โชว์หราอยู่ คนที่ google ก็เลยรู้เรื่องนี้กันทั่วไป   สิ่งที่น่าสนใจก็คือการนำข้อมูลสำคัญๆ เช่นข้อมูลสุขภาพคนไทยจากกระทรวงสาธารณสุขหรือ สสส. มานำเสนอ แบ่งตามจังหวัด แล้วเอาไปให้ที่ประชุมผู้ว่าดู รับรองว่าเกิดผลสุดๆแน่ เช่นการแข่งขันของแต่ละจังหวัดเรื่องการตายจากเอดส์ หรือแม้แต่ข้อมูลไข้หวัดนก  อย่างไรก็ตามเขาว่าจะ connect ให้เพราะทางทีมที่ทำ gap minder […]

Read more "คุยกะ Google เรื่อง Gap Minder"

Barcamp Bangkok ทำไมถึงสำเร็จ?

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้แวะไปที่ร้าน Indus ที่จัด BarCamp Bangkok ครั้งแรกในภูมิภาคแถวนี้ ไปก็สบายใจๆเพราะเห็นคนน่าเก่าๆที่คุ้นเคยกันดีเดินไปเดินมา ในฐานะ sponsor เล็กๆรายหนึ่งก็เลยมาดูว่าเป็นไง จากนั้น Hunt & Joy และ Keng & 1 ก็บอกว่ามีคนมารวมๆกัน 200 คนในงานนี้ มีมาตั้งแต่คนจากอเมริกามางานนี้โดยเฉพาะ งานนี้มีทั้งคนไทย ฝรั่ง แขก จีน ครบทุกรส  หลักๆก็พูดไทยและอังกฤษ  (อาหารอินเดีย อร่อยมาก) แนวการจัดก็ง่ายๆ มีห้องสี่ห้าห้อง ใครมาก่อนก็มาลงชื่อกับหัวข้อที่จะพูดและเวลา จากนั้นก็สลับกันพูด ตั้งกะเช้ายันเย็น เนื้อหามีตั้งแต่สุดยอดเทคนิคไปจนถึงแนวทางการทำหนัง AV  (Geekship as common denominator) ตลอดงานได้ยินเด็กๆพูดถึงมนุษย์ที่เรารู้จักเช่น อาร์ท กานต์ มาร์ค ลิ่ว กล้า เสมือนหนึ่งว่าเป็นตำนานในวงการใหม่นี้ เลยรู้สึกแอบดีใจไปด้วย ประมาณว่าหากมีระเบิดเกิดขึ้นในงาน  เว็บ 2.0 จริงๆของไทยก็คงจะหายไปซะงั้น เลยมานั่งคิดว่าทำไมงานนี้ถึงสำเร็จ เลยสรุปเอาเองว่าประมาณนี้ […]

Read more "Barcamp Bangkok ทำไมถึงสำเร็จ?"

Health minister to support web2.0 against risky online behavior.

Today I was presenting to the Thai Health Promotion Foundation sub-committee on its next phase of “ICT Plan for Cyber Health”. It was fun to have the Health Minister joining the meeting unofficially. I was first reviewing the situation of Thai cyberspace on risk behavior among youth. The recent survey found many interesting figure such […]

Read more "Health minister to support web2.0 against risky online behavior."