ก่อนจะกล่าวหาใครว่าล้มเจ้ากับเหล่านักประชาธิปไตย ลองพิจารณาดูสักนิด ว่าสองท่านนี้ อาจารย์ปรีดี และอาจารย์ป๋วย ก็เคยโดนมาแล้ว ซึ่งภายหลังก็พิสูจน์แล้วว่าไม่มีความผิดอะไีรดังคำกล่าวหา ทั้งสองท่านที่ทำประโยชน์ให้เมืองไทยมหาศาลก็ต่างจบชีวิตในต่างประเทศ ส่วนเหล่าเผด็จการและลิ้วล้อผู้กล่าวหาและฆ่าแกงประชาชนทั้ง 6-14 ตุลา หรือแม้แต่พฤษภาทมิฬ ก็ไม่เคยต้องโทษอะไร เป็นไปได้ไง ประเทศที่ลบประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจนผู้คนลืมเงื่อนไขและบทเรียนเหล่านั้น ทำได้อย่างไร การสืบทอดอำนาจที่อยู่เบื้องหลังการบิดเบือนประวัติศาสตร์อย่างเบ็ดเสร็จตั้งแต่ครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนถึงปัจจุบันที่ทำให้กระแสความรุนแรงชาตินิยมตกขอบ การกล่าวหาคนอื่นว่าล้มเจ้า การรัฐประหารที่บ่อยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง มันเกิดขึ้นได้อย่างไร อย่าตกเป็นเครื่องมือการสร้างกระแสชังประชาชนอีกเลย

บางคำของ อ ป๋วย ที่ยังมีความร่วมสมัยอย่างน่าใจหาย หลายทศวรรษผ่านไป ความคิดต่อต้านประชาธิปไตยยังเหมือนเดิม ผู้ที่พูดว่ารักและเชิดชูแนวคิดของอาจารย์ป๋วยหลายคนก็ปฏิเสธหลักการของท่าน
“ผมมีความเชื่อมั่นอย่างแน่นแฟ้นในระบอบประชาธิปไตยและในศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน … ผมเชื่อในเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนตามที่บัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลของสหประชาชาติ ผมเชื่อในสิทธิของชายหญิงทุกคนที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของสังคมที่เขาอาศัยอยู่ การปฏิเสธไม่ให้สิทธิเหล่านั้นแก่เขา เพราะเขายากจนหรือเพราะเขาขาดการศึกษา ผมถือว่าเป็นความร้ายกาจอย่างหนึ่ง ผมเกลียดชังเผด็จการไม่ว่าจะมีรูปแบบสีสันอย่างใดก็ตาม
..
เสรีภาพของประชาชนเป็นสิ่งแปลก ถ้าตัวเราเองไม่ได้ถูกลิดรอนเสรีภาพดังกล่าว ก็จะไม่รู้สึกอะไร และจะพูดได้เสมอว่าคนอื่นยังสามารถอยู่ได้เลยภายใต้การกดขี่ปราบปราม ถ้าคุณเป็นชาวนา และบุตรของคุณถูกตำรวจนำตัวไปโดยที่เขามิได้ก่อกวนแต่อย่างใด มิได้ทำอะไรทั้งนั้น ถูกนำตัวไปโดยปราศจากข้อหา เมื่อนั้นแหละคุณจะรู้สึกขมขื่นมาก
..
ผมอยากจะพูดว่า ขอให้เราพยายามให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย มากกว่าจะบอกว่ามีเผด็จการกันเถอะ ประชาธิปไตยต้องใช้เวลาแน่นอน และเราต้องมุ่งที่จะทำให้ประชาธิปไตยก่อตั้งขึ้นมาให้ได้
ขอให้เราได้มีเสรีภาพที่จะค้นคว้าแสวงหาสิ่งนั้น และในที่สุดแล้วผมต้องการ 2 สิ่ง สิ่งหนึ่งคือ เสรีภาพ เสรีภาพแบบธรรมดาๆ อีกสิ่งหนึ่งคือ สิทธิที่จะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของสังคม
“2 สิ่งนี้จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นแนวคิดของตะวันตกแต่ผู้เดียว ในคำสอนทางพุทธศาสนามีแนวคิดเกี่ยวกับสังฆะ เกี่ยวกับความเป็นปึกแผ่นและการมีตัวแทน แต่เราละเลยแนวคิดนี้ แล้วไปคิดว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่เอื้อมไม่ถึง เราจึงมักคิดว่า เราต้องใฝ่หาเสถียรภาพโดยการมีระบบเผด็จการ”


Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s